วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

ภาวะโลกร้อน กรณีประเทศไทย

ผลกระทบของสภวะโลกร้อนทำให้ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ดังนี้
1) ฤดูที่แปรปวน และแปรปวนอย่างเห็นได้ชัดเจน เริ่มต้นที่ฤดูฝนของบ้านเราซึ่งปกติจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน ในอดีดฝนจะค่อย ๆ ตกไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พาความชื้นจากแถบทะเลอันดามันขึ้นมา ทำให้มีฝนตกมากผนวกกับบางช่วงทางทะเลจีนใต้เกิดพายุโซนร้อนพัดผ่านประเทศเวียดนาม ลาว เข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะอ่อนกำลังกลายเป็นพายุดีเปรสชั่น โดยเฉพาะในช่วงเดิอน สิงหาคมถึงเดือนกันยายน จากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และพายุโซนร้อนทำให้ประเทศไทยมีฝนตกตลอดฤดูฝน โดยจะตกแบบค่อย ๆ ตกเฉลี่ยกันไป จึงท่ำให้ฤดูฝนบ้านเราเย็นสบาย แต่ผลของสภาวะโลกร้อนทำให้รูปแบบการตกของฝนเปลี่ยนแปลงไปมาก พบว่าฝนตกค่อนข้างจะหนักขึ้นและตกครั้งละมาก ๆ เมื่อฝนตกช่วงหลัง ๆ อากาศจะร้อนอบอ้าวมาก รูปแบบนี้จะพบเห็นชัดเจนได้มากขึ้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ลักษณะฝนที่แปรปวนไปทำให้ประเทศไทยช่วง 10 ปีหลังมีภับพิบัติเกิดขึ้นมากมาย ทั้งแผ่นดินถล่ม น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ภัยแล้ง ฤดูฝนในอนาคตจะเป็นอย่างที่ว่าคือ ฝนตกจะตกหนักและแต่ครั้งก็จะมากจนเกิดปัญหา แล้วทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ทำให้หน้าฝนจะร้อนมาก เป็นลักษณะที่ร้อนอบอ้าว และจะร้อนมากเป็นพิเศษ เช่นนี้คือฤดูฝนในอนาตค ส่วนฤดูร้อนก็จะร้อนมากยิ่งขึ้น และสิ่งที่น่ากลัว คือพายุฤดูร้อน จะมีฝนตกและลมกรรโชกแรง บางครั้งก็มีลูกเห็บตก นอกจากนี้ยังมีฝนฟ้าคะนองที่รุนแรงมีฟ้าผ่ามากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ฤดูร้อนในอนาตคอาจจะไม่ร้อนมากนักและอาจจะร้อนน้อยกว่าในฤดูฝนเสียอีก กรณีตัวอย่างพายุโซนร้อนต่อประเทศไทย ซึ่งมีผลกระทบต่อพื้นที่กว้างนับร้อยกิโลเมตร โดยเฉพาะอาณาบริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนที่ผ่านมักจะได้รับผลกระทบมากทีสุด ความเสียหายขึ้นอยู่กับความรุนแรงของพายุ บางครั้งก่อให้เกิดความเสียหายขั้นรุนแรง ทำให้ประชาชนเสียชีวิต เช่น การเกิดพายุโซนร้อนแฮเรียต ที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช และพายุใต้ฝุ่นเกย์ จังหวัดชุมพร

2) การกัดเซาะชายฝั่งทะเล ล้วนแต่ส่งผลกระทบกับความสมดุลของธรรมชาติ และระบบนิเวศวิทยาทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจาก
- ธรรมชาติของคลื่นลมในทะเล
- การลดลงของพื้นที่ป่าชายเลน
- การพัฒนาต้นน้ำทำให้ตะกอนสู่ชายฝั่งลดลง
- การทรุดตัวของแผ่นดินต่อการกัดเซาะชายฝั่งทะเล
- การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในอนาคต
- การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งและก่อสร้างโครงสร้างต่าง ๆตามแนวชายฝั่งทะเล
ประเทศไทยแนวชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 2,667 กม. มีพื้นที่ตามแนวชายฝั่งทะเลเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนและใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหมด 23 จังหวัด ชายฝั่งทะเล มี 136 อำเภอ ที่อยู่ตามแนวชายฝั่งทะเล หรือมี 807 อำเภอ ติดชายฝั่งทะเล ลักษณะชายฝั่งทะเลมีความหลากหลายของชนิดพันธ์พืชสัตว์ และสิ่งแวดล้อม ทั้งในน้ำกร่อยและในน้ำทะเลจำนวนมาก ปัจจุบันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยซึ่งมีความยาวชายฝั่งทั้งสิ้น 1,625.5 กม. เริ่มตั้งแต่ทะเล จ.ตราด จนถึงบริเวณชายแดนภาคใต้ของ จ.นราธิวาส พื้นที่กัดเซาะรุนแรงมากกว่า 5 เมตร ต่อปีจนถึง 20 เมตรต่อปี เป็นความยาวประมาณ 485 กม. คิดเป็นร้อยละ 18 ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั้งประเทศแยกเป็น ชายฝั่งด้านตะวันออก มัการกัดเซาะขั้นปานกลางถึงรุนแรงยาวทั้งสิ้น 64 กม. คิดเป็นร้อยละ 14.7 ของพื้นที่ส่วนนี้ ชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน พื้นที่ส่วนนี้ได้แก่ ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะรุนแรงที่สุดของประเทศชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกส่วนบน ได้แก่ เพรชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎ์ธานี พื้นที่ที่มีปัญหาเป็นระยะยาวทั้งสิ้น 119.8 กม. ชายฝั่งด้านตะวันตก ส่วนล่าง ได้แก่ นครศรีธรรมราช สงลขา ปัตตานี และนราธิวาส

3)ปัญหาน้ำท่วม สาเหตุเกิดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมกลายเป็นการเมือง ขนาดใหญ่และประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการขยายตัวของพื้นที่ชุมชนเมืองและเกษตรกรรม มีการใช้พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมมากขึ้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คนยุคหลังที่นิยมถมดินเพื่อสร้างบ้านที่อยู่อาศัย และยังมีปัจจัยเสริมที่เป็นตัวเร่งให้เกิดน้ำท่วมมากขึ้น เช่น การทรุดของแผ่นดิน ระบบระบายน้ำ การขยายพื้นที่ชุมชนเมืองและเกษตรกรรม ทำให้สูญเสียพื้นที่ลุ่มต่ำ หรือแก้มลิง อาจทำให้เกิดความเสียหาย กรณีน้ำท่วมที่เป็นปัญหาในปัจจุบันที่ถือได้ว่าเป็ฯปัญหาซ้ำซาก กรณีน้ำท่วมกรุงเทพมหานครและพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาถึงแม้ว่าจะมีการสร้างเขื่อนและทำนบกั้นน้ำแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาทั้งระบบได้ และยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อมีสภาวะผิดปกติ เช่น พายุโซนร้อน ฉะนั้นการแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาต้องเป็นแบบบูรณาการ ต้องพิจารณาจากหลาย ๆ มิติ เช่น มิติที่เป็นมาตราการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งใช้สิ่งก่อสร้างและไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง มิติที่เป็นมาตราการป้องกันพื้นที่เป้าหมายมิติเฝ้าติดตามและบริหารจัดการน้ำท่วมทั้งระบบ โดยแนวทางการบริหารจัดการน้ำท่วมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้แก่ การวางแผนพัฒนากรุงเทพมหานครและเมืองบริวารในอนาคต และแผนการป้องกันน้ำท่วมโดยการใช้สิ่งก่อสร้างในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

4)ปัญหาผลผลิตทางการเกษตร การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เป็นเหตุทำให้ฤดูกาลแปรปวนฝนตกไม่ตกตามฤดูกาล วงจรของฤดูกาลจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ไม่มีทิศทาง พยากรณ์ลำบากมาก ซึ่งผลเสียเกิดแก่เกษตรกรที่ไม่สามารถจับทิศทางของฤดุกาลใหม่ได้
ผลกระทบที่ตามมาคือ การเพาะปลูกทางการเกษตรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เกษตรกรในปัจจุบันจะคุ้นเคยกับเทคโนโลยีการเพาะปลูก จากการถ่ายทอดของเกษตรกรรุ่นก่อน เช่น การไถ่หว่านช่วงเดือนไหน เก็บเกี่ยวช่วงเดือนไหน แต่หากฤดูกาลมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยเฉพาะลักษณะฝนตกหนักแปรปวนไป จะมีฝนทิ้งช้วงนาน ฝนตกแต่ละครั้งมีปริมาณมากผิดปกติ การเพาะปลูกอาจไม่ได้ผลเต็มที่ หากพืชกำลังรอเก็บเกี่ยวอยู่แต่มีฝนตก ก็อาจทำให้ผลผลิตการเกษตรเสียหายได้
5)ปัญหาด้านการท่องเที่ยว จะทำให้พฤติกรรมนักท่องที่ยวเปลี่ยนไปซึ่งสภาวะโลกร้อนขึ้นอีก 1-3 องศาเซลเซียส จะทำให้ประเทศแถบหนาวมีความอบอุ่นมากขึ้น ส่วนประเทศที่ร้อนจะร้อนมากขึ้นอาจทำให้นักท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องหนี้หนาวเข้ามาเที่ยวในประเทศแถบร้อน และหากโลกร้อนอาจจะทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความกลัว เช่น กลัวเรื่องโรคระบาด โรคติดต่อ ซึ่งอาจอุบัติขึ้น เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้นจะมีโอกาสสูงที่จะเป็นแหล่งสะสมโดรคที่เหมาะสม ประเด็นนี้คงต้องมาวิเคราะห์ว่าพฤติกรรมนักท่องเที่ยวจะเปลี่ยนไปหรือเปล่า นอกนั้นยังส่งผลให้นักท่องเที่ยวเสื่อมโทรม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ความรุนแรงของคลื่นตามแนวชายฝั่ง เป็นตัวที่ส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวขาดสมดุลไปมาก
ดังนั้นเมื่อฤดูกาลมีความแปรปวนมากขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของผู้คนในประเทศ ผลคือ มีความเสี่ยงในหลาย ๆ ด้านเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น 1)ภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น สึนามิ พายุ น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม ไฟป่า 2)เสถียรภาพด้านอาหาร 3)ความหลากหลายทางชีวภาพที่จะแปรปวนมากขึ้น 4)ทรัพยากรน้ำที่มีความผันผวน 5)สุขภาพของมนุษย์ที่จะต้องมีการปรับสวัสดิการด้านสุขภาพของมนุษย์ใหม่ 6ความเสื่อมโทรมของพื้นที่ จะเห็นได้ชัดเจนในส่วนของผลกระทบด้านการท่องเที่ยว เช่น แหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรมลง และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่แปรเปลี่ยนไป 7)การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ที่ผันผวนและรุนแรงมากขึ้น









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น