วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

1. ผลกระทบด้านนิเวศวิทยา

ขั่วโลกได้รับผลกระทบมากสุดและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาน้ำแข็ง
ก้อนน้ำแข็งจะละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเลทางขั้วโลกเพิ่มขึ้น และไหลลงสู่ทั่วโลก ทำให้เกิดน้ำท่วมได้ทุกทวีป นอกจากนี้จะพลอยทำให้สัตว์ทางทะเลเสียชีวิตเพราะระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง
ทวีปยุโรป ยุโรปใต้ ภูมิประเทศจะกลายเป็นพื่นที่ลาดเอียงเกิดความแห้งแล้ง ในหลายพื้นที่ปัญหา
อุทกภัยจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากธารน้ำแข็งบนบริเวณยอดเขาสูงที่ปกคลุมด้วยหิมะจะมีการละลายจนหมด
ทวีปอเมริกาเหนือ อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ได้รับผลประโยนช์เนื่องจากอากาศที่อุ่นขึ้นพร้อมๆกับทุ่งหญ้าของแคนาดาและทุ่งราบใหญ่ของสหรัฐอเมริกาจะล้มตาย เพราะความแปรปวนของอากาศส่งผลต่อสัตว์
ทวีปเอเชีย อุณหภูมิจะสูงขึ้นเกิดฤดูกาลที่แห้งแล้ง มีน้ำท่วม ผลผลิตทางอาหารลดลง ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นสภาวะอากาศแปรปวนอาจทำให้เกิดพายุต่างๆมากมายเข้าไปทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชน ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่แปรปวนนั้นส่งผลให้เกิดพายุโซนร้อนและใต้ฝุ่นบ่อยครั้งขึ้นด่อให้เกิดความเสียหายขึ้นอย่างรุนแรง เช่น
- เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.2 ริคเตอร์ที่บริเวณเกาะสุมาตรา และมีอาฟเตอร์ช็อกเกิดต่อเนื่องหลายครั้งบริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ ส่งผลให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ทำให้คร่าชีวิตมนุษย์นับแสนคนในชั่วพริบตา
เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2547
- มีแผ่นดินไหวอีกครั้งบริเวณชายฝั่งทะเลเกาะสุมาตรา อินโดนิเซีย ขนาด 8.7 ริคเตอร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 1,000 คน และประชาชนต้องไร้ที่อยู่อาศัย เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2548
2. ผลกระทบด้านสุขภาพ

ภาวะโลกร้อนไม่เพียงจะทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป แต่สิ่งซ้อนเร้นที่แอบแฝงมาพร้อมปรากฏการณ์นี้ด้วย คือเมื่อเกิดภาวะโลกร้อนขึ้นจะสร้างสภาวะที่พอเหมาะพอควรให้เชื้อโรคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
เดวิท พิเมนเทล นักนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนลในอเมริกา ระบุว่าโลกร้อนขึ้นจะก่อให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืช โรคที่ฟักตัวได้ดีในสภาพร้อนชื้นของโลกจะสามารถเพิ้มขึ้นมากในอีก 20ปีข้างหน้าทั้งจะมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในโรคมาลาเรีย ไข้ล่า อหิวาตกโรค และอาหารเป็นพิษ

3. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

รัฐที่เป็ฯเกาะเล็ก ๆ ของทวีปอเมริกาจะได้รับผลจากระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น และกัดกร่อนชายฝั่ง จะสร้างความเสียหายแก่ระบบนิเวศ แนวปะการังจะถูกทำลาย ปลาทะเลประสบปัญหา เนื่องจากระบบนิเวศที่เปลี่ยนไปธุรกิจท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญจะสูญเสียรายได้มหาศาล รายงาน "Global Deserts Outlook"
ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติชี้ว่า ภายใน 50 ปีข้างหน้า ระบบนิเวศวิทยาทะเลทรายเปลี่ยนแปลงไปทางด้านชีววิทยา เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ปัจจุบันพืชและสัตว์ทะเลทราย คือแหล่งทรัพยากรมีคุณค่าสำหรับผลิตยาและธัญญาหารใหม่ ๆ ที่ทำให้ไม้ต้องสิ้นเปลืองน้ำและยังมีช่องทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เช่น การทำฟาร์มกุ้งและบ่อปลาในทะเลทรายรัฐอาริโซนาและทะเลทรายเนเจฟในอิสราเอล ซึ่งทะเลทรายที่มีอยู่ 12 แห่งทั่วโลกกำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ไม่ใช่เรื่องการขยายตัว แต่เป็นความแห้งแล้ง เนื่องจากโลกร้อนธารน้ำแข็งซึ่งส่งน้ำมาหล่อเลี้ยงทะเลทรายในอเมริกาใต้กำลังจะละลาย น้ำใต้ดินเค็มขึ้น รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งหากไมมีการลงมือป้องกันอย่างทันท่วงที ระบบนิเวศวิทยาและสัตว์ป่าในทะเลทรายจะสูญหายไปภายใน 50 ปีข้างหน้าในอนาคตประชากร 500 ล้านคนที่อาศัยออยู่ในเขตทะเลทรายทั่วโลกจะอยู่ไม่ได้อีกต่อไป เพราะอุณหภูมิสูงขึ้นและน้ำถูกใช้จนหมดหรือเค็มจนดื่มไม่ได้
ในเอชียยังมีโอกาสร้อยละ 66-90 ที่อาจเกิดฝนกระหน่ำและมรสุมอย่างรุนแรง ร่วมถึงเกิดความแห้งแล้งในฤดูร้อนที่ยาวนาน ทั้งนี้ ประเทศในแถบเอเชียที่ประสบภัยล้วนแต่มีควมเสียหายทางเศรษฐกิจมากมาย
( อ้างอิง หนังสือ "โลกร้อนสุดขั้ว วิกฤติอนาคตประเทศไทย" )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น