วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

การปรับตัวเพื่อแก้ไขวิกฤติโลกร้อน

ภาวะโลกร้อนที่ทั่วโลกกำลังประสบรวมถึงประเทศไทยด้วย ในปัจจุบันซึ่งกำลังเข้าขั้นวิกฤติ ทางออกเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์จะต้องมีการเร่งช่วยกันและร่วมมือกันในทุกระดับ และทุกคน เพื่อเตรียมตัวบรรเทาปัญหาโลกร้อนตามแนวทางดังนี้


1) ประชาชนทั่วไป ซึ่งสามารถเริ่มต้นได้อย่างง่าย เช่น ลดการใช้พลังงานในบ้าน เปลี่ยนรอดไฟเป็นแบบประหยัดพลังงาน เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และสร้างตัวดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น การปลูกต้นไม้ ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบจากไม้ เป็นต้น

2) เกษตรกร การลดการเผาป่าหญ้าเพื่อกำจัดวัชพืชและเปิดพื้นที่ทำการเกษตรมาเป็นการไถกลบหรือนำไปทำปุ๋ยหมัก ปลูกพืชที่หลากหลายเพื่อช่วยลดการปลูกพืชนอกฤดูที่ต้องใช้พลังงานมาก ลดการใช้สารเคมีเพื่อลดก๊าซไนตรัสออกไซด์ลง พัฒนนาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์โดยการนำมูลสัตว์มาผลิตก๊าชชีวภาพเพื่อเป็นพลังงานหมุนเวียน


3) สื่อมวลชน นักการสื่อสาร รณรงค์เพื่อให้คววามรู้และสร้างความตะหนักกับสาธารณชนเกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกร้อน และทำให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่อยู่ในกระแสความสนใจ เป็นผู้นำระแสสังคมเรื่องชีวิตที่พอเพียง


4) รัฐบาล ซึ่งมีความจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ทางเลือกเพื่อมุ่งจัดการแก้ไขปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อม จัดลำดับพื้นที่เสี่ยงภัยพร้อมจัดทำระบบเตือนภัยสำหรับเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยง สนับสนุนให้มีการพัฒนาการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ สนับสนุนกลไกต่าง ๆ สำหรับพลังงานหมุนเวียน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน รัฐบาลควรหามาตราการที่ชัดเจนในการสนุบสนุนอุตสาหกรรมหมุนเวียนซึ่งเป็นพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เพื่อให้สามารถแข่งขันกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล สนับสนุนโครงสร้างทางกายภาพ เพื่อให้ประชาชนตระหนักและต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พิจารณาใช้กฎหมาย การเก็บภาษีเป็นเครื่องมือในการควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจก ปฏเสธรูปภาษีสิ่งแวดล้อม กำหนดทิศทางประเทศให้มุ่งสู่แนวทางของการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงที่สามารถยืนหยัดอยู่รอดอย่างเข้มแข่งในสังคมโลก


(หนังสือ"โลกร้อนสุดขั้ว วิกฤติอนาคตของประเทศไทย" )













































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น