วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ลำดับการประชุม APEC
ความคืบหน้าล่าสุด
มีการประชุม MAG และ CTI ระหว่างการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคครั้งที่ 3/2546 ที่จังหวัดภูเก็ต ระหว่างวันที่ 14-23 สิงหาคม 2546 โดยมีผลงานสำคัญๆ ในปีนี้ ได้แก่
1) การสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคี โดยจัดตั้ง APEC Caucus ที่กรุงเจนีวาในการผลักดันความคืบหน้าของการเจรจาเรื่องต่างๆ ในกรอบ WTO
2) การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าของเอเปค(Trade Facilitation Action Plan: TFAP)
3) การจัดทำโครงการนำร่องโดยสมาชิกที่มีความพร้อม (Pathfinder Initiatives)
4) การยอมรับมาตรฐานด้านความโปร่งใส (APEC Transparency Standards) และกำหนดกรอบเวลาให้สมาชิกปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าว ไม่ช้าไปกว่า ปี 2005
5) การจัดตั้ง Life Science Innovation Forum (LSIF)
6) การจัดทำ Tariff Database และ News Letter ของ MAG
7) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้าน FTAs ของ MAG
2. งานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (APEC HRD Working Group) (ร่วมกับ สม.)
คณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปค จะมีหน้าที่ในการพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การจัดทำแผนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปค และการพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อโครงการในด้านนี้ของเอเปค โดยการดำเนินการจะแบ่งเป็น 3 เครือข่ายได้แก่
1) Education Network (EDNET)
2) Labour and Social Protection Network (LSPN)
3) Capacity Building Network (CBN)
โดย สศอ. เป็นผู้รับผิดชอบหลักของไทยใน CBN
ความคืบหน้าล่าสุด
ได้มีการประชุมคณะทำงานครั้งที่ 25 ไปเมื่อวันที่ 1-4 มิถุนายน 2546 ที่ประเทศมาเลเซีย โดยมีผลการประชุมที่สำคัญได้แก่การรับรองแผนงานประจำปีของเอเปคด้านHRD ซึ่งจัดทำมาจากผลการประชุมผู้นำเศรษฐกิจที่ Los Cabosในปีที่ผ่านมา และการพิจารณาแนวทางการดำเนินการในอนาคตซึ่งมีข้อเสนอว่าการประชุมต่อไปควรมี Theme ของการประชุมด้าน HRD เพื่อให้มีจุด focus ในการทำงาน และมีการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญและให้การรับรองโครงการที่จะขอรับเงินทุนจากเอเปคในปีนี้
3. งานด้านอุตสาหกรรมเคมี (APEC Chemical Dialogue) (ร่วมกับ สร.1)
APEC Chemical Dialogue เป็นเวทีหารือร่วมระหว่างผู้แทนภาครัฐและตัวแทนอุตสาหกรรม โดยมีการพิจารณาประเด็นที่มีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม ปัญหาทางการค้า ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและเทคนิคของอุตสาหกรรมโดย สศอ.เป็นผู้รับผิดชอบหลักของประเทศไทยใน forum นี้ APEC Chemical Dialogue มีโครงสร้างการประชุมปีละ 3 ครั้ง โดยเป็นการประชุม Dialogue 1 ครั้ง และการประชุมระดับเตรียมการ (Steering Group) 2 ครั้ง โดยพิจารณาดำเนินการเรื่องการปรับประสานการแยกประเภทและการติดฉลากสินค้าเคมีภัณฑ์อันตราย (GHS) การปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของ UN ในเรื่องการขนส่งสินค้าอันตราย (Orange Book) ผลกระทบจาก EU White Paper Strategy for a Future Chemicals Policy โดยเฉพาะ REACH (Registration, Evaluation , Authorization of Chemicals) System ที่จะเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (downstream) เช่น สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า และของเล่น เป็นต้น
ความคืบหน้าล่าสุด
ได้มีการประชุมระดับ Steering Group ระหว่างวันที่ 16 - 17 สิงหาคม 2546 ที่จังหวัดภูเก็ต โดยมีประเด็นหารือที่สำคัญดังต่อไปนี้
1) มีการติดตามความคืบหน้าและมีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเรื่อง Comment ที่ประเทศสมาชิกส่งให้ EU ในเรื่องระบบ REACH System
2) จัดทำ Press Release ในเรื่องข้อคิดเห็นของสมาชิกเอเปคในเรื่อง REACH System ของ EU
3) มีการจัดตั้งกลุ่มทำงานในเรื่องการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศตาม “Orange Book” ของ UN
4) เริ่มต้นการรวบรวมมาตรการด้าน NTMs ที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเคมี
4. งานด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (APEC SME)
งานด้าน SMEs ของเอเปคจะมีโครงสร้างประด้วยการประชุมระดับคณะทำงาน 2 ครั้ง และการประชุมระดับรัฐมนตรี 1 ครั้งใน 1 ปี โดยมีหน้าที่พิจารณาประเด็นและโครงการความร่วมมือด้าน SMEs โดยมี สสว. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักของไทย โดย สศอ. มีหน้าที่ในการติดตามความเคลื่อนไหว และให้ข้อคิดเห็นต่อประเด็นและข้อตกลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นภายใต้ Forum นี้
ความคืบหน้าล่าสุด
มีการประชุมระดับรัฐมนตรีด้าน SMEs ที่จังหวัดเชียงใหม่ระหว่างวันที่ 7-8 สิงหาคม 2546 โดย สศอ. รับผิดชอบในการจัดเตรียมประเด็น ประสานงานเข้าร่วม และจัดทำรายงานการประชุมทวิภาคีของ ฯพณฯ รมว. อก. กับรัฐมนตรี SMEs จากประเทศสมาชิกอื่นๆ ซึ่งมีรัฐมนตรีมาขอพบจากประเทศ ญี่ปุ่น ชิลี ไต้หวัน และสหรัฐฯ
5. งานด้านอื่น ๆ
ได้แก่งานการเข้าเป็นคณะทำงานจัดเตรียมการเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคของไทย ซึ่ง อก. ได้รับมอบหมายให้จัดเตรียมรถสามล้อไฟฟ้าจำนวน 24 คัน เพื่อใช้รับส่งผู้นำเอเปคจากสถานที่จัดเลี้ยงไปยังสถานที่ชมการแสดงภายในกองทัพเรือ ในคืนวันที่ 20 ตุลาคม 2546 โดยผู้รับผิดชอบได้แก่ สศอ. และสถาบันยานยนต์ ซึ่งบริษัทเอกชน (บ. สิขร) ยินดีที่จะผลิตให้โดยไม่คิดมูลค่า
สาระสำคัญของการประชุมเอเปคกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศพ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) การประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของเอเปคครั้งแรกที่กรุงแคนเบอร์รา ออสเตรเลียเพื่อจัดตั้งกลุ่มหารือในกรอบความร่วมมือเอเปค ประกอบด้วยสมาชิกเริ่มต้น 12 ราย (ออสเตรเลีย บรูไน ดารุสซาลาม แคนาดา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซียนิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และสหรัฐอเมริกา)ที่ประชุมเล็งเห็นความสำคัญของการมีเวทีหารือด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคและตกลงให้มีการหารือเป็นประจำทุกปีพ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) การประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ของเอเปคที่สิงคโปร์เพื่อหารือถึงรูปแบบขององค์กรเอเปค อย่างเป็นทางการ ที่ประชุมเห็นว่าเอเปคควรเป็นเวทีสำหรับการหารืออย่างกว้างๆ มากกว่าเวทีเพื่อ การเจรจาและการดำเนินการต่างๆ ของเอเปคควรยึดถือหลักการฉันทามติ (consensus) ความสมัครใจ (voluntarism) ของทุกฝ่ายความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของสมาชิกโดยคำนึงถึงความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจและสังคมและระดับการพัฒนาของสมาชิกพ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) การประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 3 ที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลีได้กําหนดเป้าหมายเพื่อธำรงไว้ซึ่งการเจริญเติบโตและการพัฒนาในภูมิภาคส่งเสริมประโยชน์จากการขยายตัวของการค้าสินค้าและบริการรวมทั้งการไหลเวียนของทุนและเทคโนโลยี พัฒนาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบ การค้าพหุภาคี (multilateral trading system) และลดอุปสรรคทางการค้าสินค้าและบริการระหว่างสมาชิกโดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจอื่นๆ
หลักนโยบายด้านพลังงานที่ไม่ผูกพัน 14 ประการในแผนปฏิบัติการด้านพลังงานของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค (เอเปค)ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคครั้งแรกณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียเมื่อวันที่ 28-29 สิงหาคม พ.ศ. 2539
1. การพิจารณาประเด็นทางด้านพลังงานจะต้องประสานสอดคล้องกับปัจจัยทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ความมั่นคงและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
2. ดำเนินนโยบายเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการผลิต การจำหน่าย และการใช้พลังงาน
3. ดำเนินนโยบายการเปิดตลาดทางด้านพลังงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางด้านการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมความมั่นคงทางด้านพลังงาน และสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งเสนอแนะการดำเนินการใดที่เหมาะสมในกลุ่มเอเปค เพื่อขจัดปัญหาอุปสรรคต่างๆที่อาจมี
4. ให้มีมาตรการรองรับเพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมโดยอาจเป็นการผสมผสานระหว่างนโยบายตลาดเสรี และตลาดควบคุมทั้งนี้ตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศ
5. พิจารณาลดการอุดหนุนต่างๆ ในสาขาพลังงานลงเป็นลำดับพร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการดำเนินการทางด้านราคาเพื่อให้สะท้อนถึงตันทุนทางเศรษฐกิจในการจัดหาและการใช้พลังงานอย่างครบวงจรโดยคำนึงถึงต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย
6. แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอย่างสม่ำเสมอในนโยบายพลังงานด้านต่างๆที่แต่ละประเทศได้ดำเนินการให้มีการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมไปแล้ว
7. ใช้หลักการต้นทุนต่ำสุด (least cost approach) ในการจัดหาบริการทางด้านพลังงาน
8. ส่งเสริมให้มีการกำหนดนโยบายที่จะอำนวยความสะดวกในการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านพลังงานที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมได้ในเชิงพาณิชย์ และโดยไม่มีข้อกีดกันใดๆ
9. สนับสนุนให้มีการพัฒนาฝีมือทรัพยากรมนุษย์ในด้านการประยุกต์ใช้และดำเนินการตามเทคโนโลยีที่ปรับปรุงแล้ว
10. ยกระดับแผนงานด้านข้อมูลข่าวสารและการจัดการทางด้านพลังงานเพื่อช่วยให้การตัดสินใจในสาขาพลังงานเป็นไปอย่างเหมาะสม
11. สนับสนุนการวิจัย การพัฒนา และการสาธิตทางด้านพลังงานเพพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้อย่างคุ้มทุนของเทคโนโลยีด้านพลังงานที่ใหม่มีประสิทธิภาพสูงกว่า และมีความเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม
12. ส่งเสริมให้มีการไหลเวียนของเงินทุน โดยลดอุปสรรคต่างๆที่จะมีผลต่อการถ่ายทอดและการกำหนดให้ใช้เทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานทางด้านพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าและเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า
13. ส่งเสริมมาตรการที่คุ้มทุน เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้สามารถลดก๊าซเรือนกระจกลงเพื่อสนองตอบการเรียกร้องของภูมิภาคที่ให้ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกลง
14. ร่วมมือกันตามระดับความจำเป็นในการพัฒนาของแต่ละประเทศในการร่วมกันดำเนินโครงการเพื่อลดมลพิษก๊าซเรือนกระจกโดยสอดคล้องกับอนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (Climate Change Convention)
การประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค ครั้งที่สอง"พลังงาน:บริการพื้นฐานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน"ณ เมืองเอ็ดมันตันประเทศแคนาดา26-27 สิงหาคม 2540
การประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคครั้งที่สองจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคมพ.ศ. 2540 ณ เมืองเอ็ดมันตัน มณฑลอัลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดาโดยมีรัฐมนตรีและผู้แทนจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ออสเตรเลียบรูไนดารูสซาลาม แคนาดา ชิลี สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่นสาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ไต้หวัน ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา และมีผู้แทนจากสำนักงานเลขาธิการเอเปคสำนักงานเลขานุการคณะทำงานด้านพลังงานของเอเปค (EWG) และผู้สังเกตการณ์จากสภาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในแปซิฟิค (PECC) เข้าร่วมประชุมด้วย
รัฐมนตรีได้รับทราบผลงานความก้าวหน้าของคณะทำงานด้านพลังงานของเอเปคในการดำเนินงานตามประเด็นที่ได้รับความเห็นชอบไปแล้วในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคครั้งแรก ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียเมื่อวันที่ 28-29 สิงหาคม พ.ศ. 2539 ทั้งนี้รัฐมนตรีได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อให้สนองความต้องการพลังงานในอนาคตของภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคอย่างสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและทางด้านสังคมของแต่ละประเทศต่อไป
รัฐมนตรีได้รับทราบว่าภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคจะยังคงเป็นตัวผลักดันความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกและคาดว่าประชากรของภูมิภาคจะยังคงขยายตัวต่อไปสู่ศตวรรษหน้ารัฐมนตรียังรับทราบประมาณการความเจริญทางเศรษฐกิจในเอเปคว่าจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.3 ต่อปี จากปัจจุบันจนถึงปี พ.ศ. 2553 เปรียบเทียบกับอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปีของกลุ่มประเทศ OECD จากอัตราความเจริญเติบโตนี้เองคาดว่าการใช้พลังงานของกลุ่มเอเปคจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.2 ต่อปีจากปัจจุบันจนถึงปี พ.ศ. 2553 เปรียบเทียบกับอัตราร้อยละ 1.0 ต่อปี ของกลุ่มประเทศ OECD
รัฐมนตรีเห็นชอบร่วมกันว่า การพัฒนาทรัพยากรพลังงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมจะเป็นการพัฒนาภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคอย่างยั่งยืนสืบต่อไปการพัฒนาอย่างยั่งยืนนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อสนองศักยภาพความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอันเนื่องมาจากการมีพลังงานที่สะอาดและสามารถหาซื้อมาใช้ได้รัฐมนตรียังเห็นชอบร่วมกันอีกว่า ความพยายามร่วมกันของภาครัฐทั้งหมดในภูมิภาคร่วมกับภาคเอกชนและชุมชนต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อช่วยอำนวยความ
สะดวกให้เกิดการพัฒนาบริการพื้นฐานซึ่งมีประสิทธิภาพและเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมต่อไป
การพิจารณาของรัฐมนตรีได้เน้นไปที่การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ต้องดำเนินการร่วมกันคือ เพื่อตอบสนองความปรารถนาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคเพื่อเพิ่มพูนความมั่นคงทางด้านพลังงานและเพื่อแก้ไขผลกระทบของพลังงานต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กันทั้ง 3 ประการรัฐมนตรีจึงเห็นชอบให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
ก)การจัดหาและการใช้พลังงานจะเกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ และการเปิดกว้างของตลาดพลังงานในภูมิภาคนี้
ข) การพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคจะบรรลุผลสูงสุดด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงานพร้อมทั้งการพัฒนาแหล่งทรัพยากรพลังงานที่มีอยู่ของภูมิภาคโดยรวมถึงพลังงานหมุนเวียนอีกด้วย
ค) การอำนวยความสะดวกให้มีการลงทุนจากภาคธุรกิจในสาขาไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งเพื่อสนองความต้องการด้านพลังงานในภูมิภาคนี้ และ
ง) ความปรารถนาที่จะให้เศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคขยายตัวเพิ่มขึ้นตามเวลาที่ล่วงไปจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการพัฒนาบริการพื้นฐานด้านพลังงานและประยุกต์ใช้วิธีการทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกัน โปร่งใส และคาดการณ์ได้
รัฐมนตรียังได้รับทราบความสำคัญของภาคเอกชน ที่ตั้งอยู่บนหลักเกณฑ์การลงทุนและระบบการค้าที่เปิดกว้าง โปร่งใส และคาดการณ์ได้จะเป็นกุญแจสำคัญเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของเงินทุนภาคเอกชนเข้าสู่สาขาพลังงานเพิ่มมากขึ้นรัฐมนตรีจึงได้มอบหมายให้คณะทำงานด้านพลังงานของเอเปคให้ดำเนินการตามมติการประชุมผู้นำเอเปคที่โอซากา (Osaka Action Agenda) ในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังต่อไปลู่ทางที่สำคัญเพื่อการพัฒนาบริการพื้นฐานอย่างยั่งยืน
การประชุมนานาชาติภาคธุรกิจด้านพลังงาน
รัฐมนตรีได้ขอบคุณผู้เข้าร่วมการประชุมภาคธุรกิจด้านพลังงานที่ได้รายงานผลการริเริ่มของแต่ละประเทศในการอำนวยความสะดวกให้แก่การลงทุนในบริการพื้นฐานด้านพลังงานรวมทั้งการค้าสินค้าและบริการด้านพลังงานประเภทต่างๆ อีกด้วยรัฐมนตรียังได้รับทราบข้อเสนอแนะของผู้แทนเยาวชนซึ่งเกี่ยวกับโอกาสของเยาวชนในสาขาพลังงานในภูมิภาครัฐมนตรีมีมติให้ส่งรายงานทั้งสองนี้ให้แก่คณะทำงานด้านพลังงานของเอเปคเพื่อพิจารณาในรายละเอียดต่อไปรัฐมนตรีได้ขอบคุณผู้แทนภาคธุรกิจและผู้แทนเยาวชนซึ่งได้อุตสาหะดำเนินการมาและได้แสดงการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเช่นนี้อีกในอนาคต
รัฐมนตรีได้รับทราบการดำเนินการที่ทรงคุณค่ายิ่งซึ่งภาคธุรกิจกำลังดำเนินการให้เป็นกิจกรรมของคณะทำงานด้านพลังงานของเอเปคดังนั้นรัฐมนตรีจึงมอบหมายให้คณะทำงานด้านพลังงานของเอเปครับไปพิจารณากลไกที่เหมาะสมเพื่อปรับปรุงและคงไว้ซึ่งความเชื่อมโยงที่ดีระหว่างคณะทำงานและภาคธุรกิจและให้นำมารายงานให้แก่รัฐมนตรีทราบในการประชุมครั้งต่อไป
หลักการนโยบายด้านพลังงาน
รัฐมนตรีได้รับทราบความก้าวหน้าที่สำคัญในการปฏิบัติตามหลักการนโยบายด้านพลังงานซึ่งที่ประชุมรัฐมนตรีพลังงานครั้งแรกที่นครซิดนีย์ได้มีมติเห็นชอบไปแล้วและยังได้เสนอที่จะดำเนินการต่อไป เพื่อผนวกหลักการนโยบายด้านพลังงานนี้เข้าไว้เป็นแนวนโยบายของแต่ละประเทศสมาชิกรัฐมนตรีจึงได้ขอให้คณะทำงานด้านพลังงานของเอเปค ติดตามข้อมูลอย่างสม่ำเสมอถึงความก้าวหน้าในการผนวกหลักการนโยบายที่ไม่ผูกพันทั้ง 14 ประการนี้ไว้ในแนวนโยบายของประเทศสมาชิกอีกด้วย
รัฐมนตรีได้พิจารณาข้อเสนอริเริ่มของสหรัฐอเมริการวมทั้งข้อเสนอจากอินโดนีเซียและปาปัวนิวกินีในเรื่องก๊าซธรรมชาติและได้สั่งการให้คณะทำงานด้านพลังงานของเอเปคโดยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีพลังงานเอเปคในการประชุมที่โอกินาวาซึ่งเกี่ยวกับการเร่งรัดให้มีการลงทุนเพื่อจัดหาก๊าซธรรมชาติ บริการพื้นฐานต่างๆและระบบการค้าซึ่งจำเป็นสำหรับภูมิภาคเอเปครัฐมนตรียังได้ขอให้คณะทำงานด้านพลังงานของเอเปค รายงานถึงโอกาส ประเด็นและทางเลือกต่างๆ เพื่อให้เอเปคดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไปอีกด้วย
รัฐมนตรีได้รับทราบความสำคัญที่จะต้องเร่งรัดการดำเนินการที่เกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจกรัฐมนตรีได้รับทราบว่าประเด็นสำคัญเรื่องนี้ได้มีการพิจารณากันในการประชุม Third Conference of the Parties (COP-3) ภายใต้ United Nations Framework Convention on Climate Change (UN-FCCC) ณ เมืองเกียวโตรัฐมนตรีได้เห็นชอบถึงความสำคัญของการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและยืนยันว่าการเพิ่มประสิทธิภาพของพลังงานนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกนอกจากนี้รัฐมนตรียังได้รับทราบความสำคัญของการพัฒนาโอกาสทางการตลาดที่จะเกี่ยวเนื่องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอีกด้วย
บริการพื้นฐานด้านไฟฟ้า
เนื่องมาจากความเจริญทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ความต้องการใช้ไฟฟ้าในภูมิภาคเอเปคจึงคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50-80 จากปัจจุบันจนถึงปี พ.ศ. 2553 และจะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 1.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในการประชุมที่ซิดนีย์รัฐมนตรีพลังงานได้เห็นชอบร่วมกันว่าเงินลงทุนจำนวนนี้ไม่สามารถจะหาได้จากภาครัฐของกลุ่มประเทศเอเปคและองค์กรการเงินสากลเพียงฝ่ายเดียวดังนั้นการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคเอกชนจึงนับเป็นเรื่องสำคัญยิ่งรัฐมนตรีได้เน้นย้ำอีกว่า การปฏิรูปในสาขาไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคและได้รับทราบถึงผลประโยชน์ที่สำคัญของการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจในการพัฒนาบริการพื้นฐานด้านไฟฟ้าเพื่อชักจูงเงินลงทุนจากภาคเอกชนรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้จัดทำกรอบโครงร่างทางด้านกฎระเบียบและด้านองค์กรที่โปร่งใสและคาดการณ์ได้รัฐมนตรียังได้ให้การรับรองหลักการที่ไม่ผูกพันตามที่ปรากฎในรายงาน "Manual of Best Practice Principles for Independent Power Producers" โดยที่หลักการเหล่านี้ได้ครอบคลุม ถึงเรื่องโครงสร้างสถาบันและกฎระเบียบต่างๆขบวนการ และหลักเกณฑ์ในการประเมินผลการประมูล/ประกวดราคา หนังสือสัญญารับซื้อไฟฟ้าและโครงสร้างภาษีที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการเงินโครงการและนัยที่เกี่ยวเนื่องต่างๆรัฐมนตรีได้แสดงความขอบคุณการดำเนินงานของคณะทำงานด้านพลังงานของเอเปค ภาคธุรกิจและเจ้าหน้าที่ต่างๆ ในการจัดทำรายงานฉบับนี้ และได้สนับสนุนให้ประเทศสมาชิกพิจารณานำหลักการที่ไม่ผูกพันเหล่านี้ ไปปฏิบัติควบคู่ไปกับแนวนโยบายของตนด้วยรัฐมนตรียังได้รับทราบว่าหลักการเหล่านี้ เมื่อนำไปใช้จะทำให้ลดต้นทุนของภาคธุรกิจลง จะช่วยอำนวยความสะดวกการลงทุนของภาคเอกชนและสร้างเงื่อนไขเพื่อการจัดสรรเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในสาขาบริการพื้นฐานด้านไฟฟ้า
บริการพื้นฐานที่เหมาะสมสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม
รัฐมนตรีได้พิจารณาทั้งลู่ทางด้านสิ่งแวดล้อมและโอกาสด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดจากความเจริญทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของแต่ละประเทศ
รัฐมนตรีได้รับทราบว่าการขยายตัวอย่างรวดเร็วของบริการพื้นฐานด้านไฟฟ้าซึ่งจำเป็นยิ่งเพื่อสนองความคาดหวังด้านเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรงทั้งระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับโลกรัฐมนตรีได้รับทราบต่อไปอีกว่าความท้าทายซึ่งเผชิญหน้าภูมิภาคอยู่ในขณะนี้คือการดึงดูดการลงทุนบริการพื้นฐานด้านไฟฟ้าและในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างความเชื่อมั่นว่าบริการพื้นฐานเหล่านั้น จะเกิดมีขึ้นและดำเนินการอย่างคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมอีกด้วย
รัฐมนตรีได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่าสิ่งใดจะเป็นตัวกำหนดลักษณะวิธีการปฏิบัติด้านนโยบายที่ดีเพื่อส่งเสริมการลงทุนบริการพื้นฐาน ที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมรวมถึงหลักการที่กำหนดไว้ตามรายงานเรื่อง "Environmental Sound Infrastructure in APEC Electricity Sectors" ซึ่งดำเนินการโดยประเทศแคนาดาในนามคณะทำงานด้านพลังงานของเอเเปครัฐมนตรีได้พิจารณารายงานรวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆแล้วได้มอบหมายให้คณะทำงานด้านพลังงานของเอเปครับไปพิจารณาในรายละเอียดโดยร่วมกับภาคธุรกิจจัดทำแผนงานเพื่อดำเนินการตามข้อเสนอแนะนั้นๆ ต่อไปรัฐมนตรียังได้เห็นชอบให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านเทคโนโลยีที่เป็นปัจจุบันมีประสิทธิภาพและสะอาดซึ่งอาจช่วยประเทศสมาชิกให้บรรลุจุดมุ่งหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมของตนได้
รัฐมนตรีได้พิจารณาและให้การรับรองหลักการที่ไม่ผูกพันเพื่อส่งเสริมการรวมเอาวิธีการปฏิบัติที่ดี ทางด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ในการจัดทำโครงการด้านไฟฟ้าต่างๆ ต่อไป และเห็นชอบให้พิจารณารวมเข้าไว้ในแนวนโยบายของแต่ละประเทศตามที่เหมาะสมด้วยรัฐมนตรีเห็นชอบว่าหากประเทศสมาชิกจะดำเนินการตามวิธีปฏิบัติเหล่านี้จะเป็นการให้นโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมที่โปร่งใส คาดการณ์ได้และสม่ำเสมอแก่ภาคเอกชนในการประยุกต์ใช้นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมต่อไปซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการลงทุนของภาคเอกชนในที่สุดนอกจากนี้รัฐมนตรียังได้รับทราบอีกด้วยว่าหลักการเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับการจัดองค์กรรูปแบบต่างๆในแต่ละประเทศสมาชิกได้ โดยจะมีผลต่อเนื่องไปถึงสาขาพลังงานด้านอื่นๆต่อไปอีกด้วย



การลดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมและธุรกิจด้วยความร่วมมือทางด้านมาตรฐานพลังงาน
รัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่าการใช้มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานและการติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพพลังงานของผลิตภัณฑ์ต่างๆจะช่วยเสริมสร้างให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและช่วยปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นอีกด้วยรัฐมนตรีเห็นชอบให้ใช้ความระมัดระวังเพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องมือเหล่านี้จะไม่เป็นอุปสรรคต่อการค้าขึ้นได้รัฐมนตรียังได้พิจารณาเห็นว่าการจัดทำมาตรฐานการทดสอบการใช้พลังงานแบบร่วมกันหรือแบบเปรียบเทียบและการจัดทำกรอบหลักร่วมกันเพื่อให้การรับรองผลการทดสอบจากห้องทดลองจะช่วยเสริมสร้างการค้าผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้พลังงานและจะช่วยลดต้นทุนของธุรกิจลงได้อีกด้วย
รัฐมนตรีเห็นชอบให้ดำเนินการเชิงพหุภาคีเพื่อให้สมาชิกเอเปคทุกประเทศรับรองผลการวิเคราะห์จากสถาบันที่ได้รับการรับรองเพื่อทดสอบประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้นอกจากนี้ยังได้เห็นชอบที่จะพิจารณาในโอกาสแรก เมื่อมีแผนงานใหม่ที่จำเป็นต้องใช้ขบวนการทดสอบประสิทธิภาพการใช้พลังงานขึ้นโดยให้ใช้มาตรฐานการทดสอบที่มีอยู่แล้วได้ทันทีในกรณีที่จะต้องรับรองมาตรฐานใหม่ภายในประเทศสมาชิกซึ่งแตกต่างไปจากมาตรฐานที่มีใช้อยู่แล้วรัฐมนตรีเห็นชอบให้แจ้งให้ประเทศสมาชิกอื่นทราบและเผยแพร่มาตรฐานนั้นๆ ให้ทราบรัฐมนตรีได้ขอให้คณะทำงานด้านพลังงานของเอเปคจัดทำข้อเสนอเพื่อพิจารณาในรายละเอียดในการประชุมครั้งต่อไปที่โอกินาวาด้วย
รัฐมนตรีได้รับทราบว่าคณะทำงานด้านพลังงานของเอเปคได้จัดทำแผนงานเพื่อกำหนดพื้นฐานสำหรับสร้างความร่วมมือด้านมาตรฐานพลังงานให้มากยิ่งขึ้นตามที่ได้รับมอบหมายจากการประชุมรัฐมนตรีพลังงานครั้งแรก ได้แก่
ก) หารายละเอียดการใช้ประโยชน์จากองค์กรความร่วมมือเพื่อให้การรับรองห้องทดลองในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค (Asia Pacific Laboratory Accreditation Cooperation) และองค์กรนานาชาติอื่นที่คล้ายคลึงกัน เพื่อเป็นกลไกส่งทอดที่เป็นไปได้สำหรับกรอบการให้ความรับรองร่วมกันในภูมิภาค
ข) พิจารณาตัดสินระดับการสอบเทียบของขบวนการทดสอบประสิทธิภาพการใช้พลังงานเท่าที่มีใช้อยู่ในภูมิภาคเอเปคและจัดทำขั้นตอนเพื่อให้เกิดฉันทานุมัติในหมู่สมาชิกเอเปคทั้งนี้เพื่อลดข้อแตกต่างที่อาจมีอยู่
ค) จำแนกกลไกเพื่อพัฒนา สื่อสาร และสนับสนุนความประสงค์ของเอเปคที่จะให้มีวิธีการทดสอบประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ไปยังองค์กรกำหนดมาตรฐานสากลเพื่อให้มาตรฐานสากลนั้นๆสะท้อนถึงความต้องการโดยเฉพาะจากประเทศสมาชิกเอเปคด้วย

โครงการอาหาร พลังงาน สิ่งแวดล้อมความเจริญทางเศรษฐกิจและประชากร (FEEEP)
รัฐมนตรีได้พิจารณาผลที่เกิดจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและจำนวนประชากรที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเพื่อจะสนองตอบความต้องการใช้พลังงานในภูมิภาคให้ได้โดยคำนึงถึงข้อห่วงใยจากการประชุมผู้นำเอเปคที่โอซากาเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ที่ว่าภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคจะมีการขยายตัวของประชากรและความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วคาดว่าจะทำให้ความต้องการอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและยังจะมีผลกดดันต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
รัฐมนตรีได้ยกผลงานเด่นๆของคณะทำงานในการอำนวยความสะดวกการพัฒนาบริการพื้นฐานด้านไฟฟ้าการบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตและการใช้พลังงานการปรับปรุงความมั่นคงด้านพลังงานและโดยเฉพาะจากการจัดทำประมาณการพลังงานสมบูรณ์แบบโดยศูนย์วิจัยพลังงานเอเซียแปซิฟิคซึ่งได้ใช้ผนวกรวมเป็นประเด็นของเอเปคที่ริเริ่มโครงการ FEEEP นี้ขึ้นมา
รัฐมนตรียังได้เน้นถึงความสำคัญของการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืนต่อการกินดีอยู่ดีและความเจริญรุ่งเรืองในระยะยาวของภูมิภาคและเห็นชอบว่าคณะทำงานด้านพลังงานของเอเปคได้ดำเนินการอย่างรุดหน้าเพื่อสนองตอบความห่วงใยของผู้นำเอเปครัฐมนตรีได้ขอบคุณประเทศแคนาดาที่ได้จัดการประชุม FEEEP นี้ขึ้นเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นสำคัญต่างๆ เหล่านี้ตลอดถึงผลที่อาจจะเกิดขึ้นอีกด้วยและได้รับทราบการนำเสนอของคณะทำงานด้านพลังงานของเอเปค ต่อการประชุมนั้นอีกด้วย
กิจกรรมต่างๆ ของคณะทำงานด้านพลังงาน
รัฐมนตรีได้เห็นชอบว่าการคงให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยี นับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้สาขาพลังงานมีส่วนให้ความเป็นอยู่ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคได้รับประโยชน์สูงสุดสำหรับในระยะยาววัตถุประสงค์หลัก ได้แก่การสร้างความมั่นใจว่าพลังงานจะไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเจริญเติบโตและความรุ่งเรืองอย่างยั่งยืนของภูมิภาคในเรื่องนี้รัฐมนตรีได้รับทราบความก้าวหน้า ของคณะทำงานด้านพลังงานในการสนับสนุนให้มีการเจรจาและความร่วมมือด้านพลังงานภายในภูมิภาคและเห็นชอบว่าความร่วมมือในภูมิภาคนี้นับเป็นกุญแจสำคัญเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสนองความท้าทายที่เผชิญหน้าภูมิภาคอยู่ในขณะนี้รัฐมนตรีได้รับทราบข้อเสนอของประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีเพื่อจัดทำแนวทางในเรื่องประสิทธิภาพการใช้พลังงานและได้มอบหมายให้คณะทำงานด้านพลังงานของเอเปครับไปพิจารณาแนวคิดนี้เพื่อจัดทำเป็นแผนงานเต็มรูปต่อไปจากผลงานของคณะทำงานด้านพลังงานของเอเปครัฐมนตรีคาดว่าจะสามารถพิจารณาความเป็นไปได้ของระบบ "เสนอให้ และทบทวน (pledge and review)" เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างสมัครใจในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานครั้งต่อไปรัฐมนตรียังได้ให้การรับรอง ความพยายามของคณะทำงานด้านพลังงานของเอเปคในการสนับสนุนการใช้พลังงานใหม่และพลังงานหมุนเวียนอย่างประหยัดการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างสะอาดและเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องและการดำเนินการอย่างแข็งขันให้มีตลาดพลังงานแบบเปิดและมีประสิทธิภาพในภูมิภาคเอเปคต่อไปรัฐมนตรียังได้รับทราบอีกด้วยว่าการตอบสนองความต้องการแร่ธาตุต่างๆในภูมิภาคนับเป็นสิ่งสำคัญเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้มีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและสังคมยิ่งๆขึ้นไปรัฐมนตรีได้รับทราบความก้าวหน้าของคณะทำงานด้านพลังงานในการพัฒนาและสร้างความร่วมมือซึ่งมุ่งที่จะเพิ่มความโปร่งใส และมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของภูมิภาคยิ่งขึ้นรัฐมนตรีได้มอบหมายให้คณะทำงานด้านพลังงานคงดำเนินการด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการในภูมิภาคนี้ต่อไปพร้อมทั้งส่งเสริมอย่างจริงจังให้มีความร่วมมือพหุภาคีในภูมิภาคโดยมุ่งไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
ศูนย์วิจัยพลังงานเอเซียแปซิฟิค (APERC)
รัฐมนตรีได้รับฟังความก้าวหน้าในการดำเนินการของศูนย์วิจัยพลังงานเอเซียแปซิฟิค (APERC) ซึ่งได้เริ่มจัดตั้งขึ้นจากการประชุมรัฐมนตรีพลังงานครั้งแรกที่นครซิดนีย์ในการจัดทำประมาณการภาพรวมพลังงานของภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคโดยกำหนดจะแล้วเสร็จปลายปี พ.ศ. 2540รัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญต่องานที่กำลังดำเนินการอยู่ของศูนย์ ฯและได้เห็นชอบว่าในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานครั้งต่อไปจะได้มีโอกาสพิจารณาประมาณการผลิตและการใช้พลังงานรวมทั้งโครงการวิจัยอื่นๆ ของ APERC ด้วย
การประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคครั้งที่ 2
ท่านนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์อมรวิวัฒน์) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์) เป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสพลังงานของไทยนำผู้แทนส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องเดินทางไปร่วมการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค ครั้งที่สองซึ่งประเทศแคนาดาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมขึ้น ณ เมืองเอดมันตัน มณฑลอัลเบอร์ต้าประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2540 โดยได้มีการประชุมคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านพลังงานเอเปค ในวันที่ 25 สิงหาคม 2540 เพื่อเตรียมการก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรี



สาระสำคัญของการประชุม
สาระสำคัญของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค สรุปได้ดังต่อไปนี้
1. ที่ประชุมซึ่งมีรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติแคนาดาเป็นประธานได้เห็นชอบร่วมกันตามแนวทางที่ได้เห็นชอบไว้ในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคครั้งแรก คือการพัฒนาสาขาพลังงานในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคจะต้องเป็นไปโดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางด้านสิ่งแวดล้อม และทางด้านสังคมเพื่อการพัฒนาภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคอย่างยั่งยืนต่อไป
2. ที่ประชุมได้รับทราบผลการประชุมกลุ่มธุรกิจด้านพลังงาน (Energy Business Forum) ซึ่งจัดขึ้นควบคู่ในโอกาสเดียวกันนี้ทั้งนี้ที่ประชุมได้สนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนในการแปรรูปกิจการรัฐวิสาหกิจและการเปิดการค้าเสรีสาขาพลังงานด้วยการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนในรูปผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (Independent Power Producers - IPP) และผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อย (Small Power Producers - SPP)
3. ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินการตามแนวหลักการนโยบายที่ไม่ผูกพัน 14 ประการ (14 Non-Binding Policy Principles) ซึ่งรัฐมนตรีพลังงานเอเปคในการประชุมครั้งแรกที่นครซิดนีย์ได้เห็นชอบให้ทุกประเทศถือเป็นแนวทางการดำเนินการด้านพลังงานทั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติให้ทุกประเทศยังคงยึดถือแนวนโยบายนี้เป็นหลักในการพัฒนาสาขาพลังงานของตนต่อไป
4. ที่ประชุมได้เห็นชอบตามหลักการการปฏิบัติที่ดีที่สุดในการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนในการผลิตไฟฟ้า (Best Practice Principles for Independent Power Producers)
5. ที่ประชุมเห็นชอบกับแนวทางการพัฒนาบริการพื้นฐานซึ่งเหมาะสมสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมโดยมีมติให้ทุกประเทศยึดถือปฏิบัติตามหลักสิ่งแวดล้อมที่ดีในการพัฒนาโครงการด้านไฟฟ้า และให้ผนวกเข้าไว้เป็นแนวทางการปฏิบัติของแต่ละประเทศ
6. ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอให้จัดทำความร่วมมือทางด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์พลังงาน และได้มีมติเห็นชอบให้มีความตกลงพหุภาคีเรื่องมาตรฐานผลิตภัณฑ์พลังงานต่างๆโดยให้ยอมรับผลการทดสอบจากสถาบันทดสอบที่ได้ผ่านการรับรองแล้ว
ท่าทีของฝ่ายไทยและสิ่งที่ไทยจะดำเนินการต่อไป
ตามแนวหลักการนโยบายด้านพลังงานของเอเปคซึ่งเป็นเนื้อหาหลักของการประชุมครั้งนี้ประเทศไทยมีความเห็นสนับสนุนการดำเนินงานของเอเปค อย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตลาดเสรีด้านพลังงาน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการสนับสนุนให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าอาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศแนวหน้าประเทศหนึ่งในทั้งเอเปคและอาเซียนที่สนับสนุนและดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังมาโดยตลอด
ประเทศไทยได้ดำเนินการเปิดเสรีตลาดพลังงานของไทย มาเป็นลำดับจนสามารถกล่าวได้ว่าในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ตลาดพลังงานของไทยจะเปิดเสรีเต็มที่โดยที่เป็นความสมัครใจของไทยเองที่จะดำเนินการทั้งนี้ตามกำหนดระยะเวลาที่เอเปคกำหนดให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศต้องดำเนินการ คือประเทศพัฒนาแล้วต้องเปิดตลาดเสรีด้านพลังงานในปี ค.ศ. 2010 และประเทศกำลังพัฒนาต้องเปิดตลาดเสรีในปี ค.ศ. 2020
การประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ และการประชุมทวิภาคี
อนึ่ง คณะผู้แทนไทยได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ก่อนการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคและการประชุมทวิภาคีกับสาธารณรัฐประชาชนจีน และรัฐบาลมณฑลอัลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดาสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการก่อนการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคเพื่อกำหนดท่าทีของกลุ่มอาเซียนในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันมีรัฐมนตรีพลังงานจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย เข้าร่วมประชุมโดยรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน 3 ประเทศ (ยกเว้นไทย)มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเร่งเปิดเสรีการค้าด้านพลังงานของเอเปคให้เร็วกว่ากำหนดโดยทั้ง 3 ประเทศประสงค์ จะให้กลุ่มอาเซียนสนับสนุนการค้าเสรีของกลุ่มเอเปคตามกำหนดระยะเวลาซึ่งกลุ่มเอเปคได้เห็นชอบกันแต่เดิม คือสำหรับประเทศกำลังพัฒนากำหนด ให้เปิดเสรีตลาดพลังงานในปี ค.ศ. 2020
2. การประชุมทวิภาคีกับสาธารณรัฐประชาชนจีนฝ่ายไทยได้ขอบคุณสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินโดยผ่านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และได้ขอร้องให้ทางฝ่ายจีนจัดทำ Statement of Confidence จากผู้นำจีน ทั้งนี้เพื่อแสดงให้ทั่วโลกเห็นว่าฝ่ายจีนยังมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของไทย รวมทั้งแสดงถึงความเป็นมิตรที่ดีต่อกันซึ่งในเรื่องนี้ฝ่ายจีนได้แจ้งว่ายินดีที่จะดำเนินการให้ต่อไป นอกจากนี้ยังได้มีการหารือถึงความร่วมมือด้านการพัฒนาถ่านหิน ในสาธารณรัฐประชาชนจีนร่วมกันรวมทั้งการศึกษาโครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำจิ่งหง หรือเชียงรุ้ง ในมณฑลยูนนานและขายไฟฟ้าให้แก่ไทยโดยฝ่ายไทยจะส่งผู้แทนไปพบกับฝ่ายจีนเพื่อดำเนินการในรายละเอียดต่อไป
3. การประชุมทวิภาคีกับรัฐบาลมณฑลอัลเบอร์ต้ารัฐมนตรีพลังงานของไทยได้เข้าเยี่ยมคารวะ นายกรัฐมนตรีมณฑลอัลเบอร์ต้าและได้มีการหารือด้านความร่วมมือทางด้านการพัฒนาหินน้ำมัน (Oil shale) ในประเทศไทยโดยฝ่ายรัฐบาลอัลเบอร์ต้ายินดีที่จะให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและเทคโนโลยีการพัฒนาหินน้ำมันแก่ไทย
การประชุมครั้งต่อไป
รัฐมนตรีเห็นชอบถึงความสำคัญในการปรึกษาหารือของการประชุมในลักษณะเช่นนี้เพื่อช่วยให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายร่วมกันทั้งทางด้านพลังงาน เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาค และยินดีรับข้อเสนอของประเทศญี่ปุ่นในการเสนอขอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งต่อไปที่โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2541 รัฐมนตรีคาดหวังว่าจะได้พิจารณาสิ่งท้าทายและนโยบายต่างๆทางด้านพลังงานอย่างกว้างขวางต่อไป
เรื่องน่ารู้อื่น ๆ เกี่ยวกับการประชุมเอเปค 2003
กำหนดการประชุม เอเปค 2003 1. การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 1 วันที่ 12-21 กุมภาพันธ์ 2546 ที่จังหวัดเชียงราย ครั้งที่ 2 วันที่ 21-30 พฤษภาคม 2546 ที่จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 3 วันที่ 14-23 สิงหาคม 2546 ที่จังหวัดภูเก็ต 2. การประชุมระดับรัฐมนตรีการค้าเอเปคครั้งที่ 15 วันที่ 2-3 มิถุนายน 2546 ที่จังหวัดขอนแก่น 3. การประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 15 วันที่ 17-18 ตุลาคม 2546 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 4. การประชุมระดับผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 11 วันที่ 20-21 ตุลาคม 2546 (11th APEC Leaders Meeting) ที่กรุงเทพมหานคร
สถานที่จัดการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค 2003 พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นสถานที่จัดการประชุมเอเปค2003 ในวันที่ 2 ของการประชุมซึ่งประชุมกันแบบไม่เป็นทางการทางการไทยถือว่าพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นสถานที่ที่จะแสดงให้เห็นถึงสัมพันธภาพระหว่างไทยและนานาประเทศ ด้วยว่า พระที่นั่งอนันตสมาคม มีสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและจิตรกรรมฝาผนังหลากหลายรูปแบบที่สำคัญยังแสดงให้เห็นถึงพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
งานกาล่าดินเนอร์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้นำเอเปคและคู่สมรส ปี 2003 งานกาล่าดินเนอร์สำหรับผู้นำเอเปคจาก 21 เขตเศรษฐกิจและคู่สมรส จัดขึ้น ณ อาคาร ราชนาวิกสภาหลังใหม่ ซึ่งในโอกาสดังกล่าวได้มีการแสดงกระบวนพยุหยาตราชลมารคจำลอง การ จัดแสดงกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้เป็นการจัดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทยโดยนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่มีการจัดกระบวนในตอนค่ำพร้อมการแสดงแสง สี เสียง และสื่อผสม เส้นทางกระบวนเรือเริ่มจากท่าวาสุกรีผ่านสะพานพระราม 8 สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ราชนาวิกสภา หอประชุมกองทัพเรือซึ่งเป็นจุด แสดงสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมเอเปค จนถึงกองบัญชากองทัพเรือและสิ้นสุดที่บริเวณวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร
เมนูเอเปคขึ้นโต๊ะผู้นำ อาหารคาว -ต้มยำกุ้งยำส้มโอ หมี่กรอบกุ้งทอดกระเทียมพริกไทย เนื้อย่างจิ้มแจ่ว ทอดมันปลา ไข่เค็ม ของว่าง -กระทงทอง ปั้นสิบ กุ้งโสร่ง ของหวาน -วุ้นมะพร้าวอ่อน สังขยาฟักทอง ลูกชุบ ผลไม้สด ชา-กาแฟ
เครื่องแต่งกายที่ระลึกสำหรับผู้นำเอเปค ปี 2003 เป็นธรรมเนียมของการประชุมผู้นำเอเปคที่เศรษฐกิจสมาชิกซึ่งเป็นเจ้าภาพจะตัดชุดประจำชาติเพื่อให้ผู้นำฯใส่ถ่ายรูปร่วมกันและนำกลับไปเป็นที่ระลึก ซึ่งในปี 2003 หจก.ยูไลยเทเลอร์ร้านตัดเสื้อผ้าสูท ชุดซาฟารี ย่านศาลาแดงที่คงการตัดเย็บเสื้อผ้าที่มีคุณภาพมานานหลายสิบปีโดยได้รับการยอมรับจากพระบรมวงศานุวงศ์บุคคลชั้นนำของประเทศ ทูตานุทูต ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และนักการเมืองได้รับความไว้วางใจให้ตัดเย็บเสื้อของผู้นำฯโดยเป็นเสื้อทรงพระราชทานที่ทอจากผ้าไหมยกทองจากสุรินทร์ ลายสัตว์หิมพานต์โดยใช้เวลา 3-4 วันในการตัดเสื้อ 1ตัวงานนี้ต้องใช้ร้านและช่างที่มีความชำนาญมาไม่น้อยกว่า 50 ปีเพราะต้องเน้นรายละเอียดการตัดเย็บทุกขั้นตอนกระบวนการผลิตผ้าไหมในครั้งนี้จะใช้เวลาผลิตประมาณ 2 เดือนช่างฝีมือในหมู่บ้านท่าสว่าง อ.เมือง จ. สุรินทร์ จำนวน 150 คน กี่ทอผ้า 24 ตัว ผ้า 1 ผืนกว้าง 100 ซม. ยาว 3 เมตร ใช้ช่างฝีมือร่วมกันทอ 5 คน ทอเป็นผ้าตัดเสื้อ 21 ชิ้น ผ้าคลุมไหล่ 13 ชิ้น
ของกำนัลผู้นำเอเปค ปี 2003 นอกเหนือจากเสื้อทรงพระราชทาน ของที่ระลึกสำหรับผู้นำฯและคู่สมรสประกอบด้วยเข็มกลัดรูปเรือสุพรรณหงส์ ทองคำ 18 เค ฝังทับทิม ล้อมเพชรผ้าคลุมไหล่ทอจากผ้าไหมยกทอง สำหรับคู่สมรส และเครื่องเบญจรงค์ ชุดใหญ่ลวดลายเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (ลายหลุยส์) ประกอบอักษรชื่อย่อ พร้อมสีดอกไม้กลางจานตามสีวันเกิดของผู้นำแต่ละประเทศ เหตุผลที่เลือกใช้ลวดลายเจ้าพระยาวิชเยนทร์เพราะเป็นสัญลักษณ์แทนความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย กับชาติตะวันตกผลิตจากโรงงานปิ่นสุวรรณเบญจรงค์ ของ วิรัตน์ ปิ่นสุวรรณ ศิลปินดีเด่นด้านวัฒนธรรมชาวบางช้าง อัมพวา สมุทรสงคราม

การประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค ครั้งที่ 4ซานดิเอโก สหรัฐอเมริกา12 พฤษภาคม 2543

ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค ครั้งที่ 4 ขึ้น ณ เมืองซานดิเอโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2543 โดยเรียกชื่อว่า “APEC Energy Ministers Conference” และมีคำขวัญการประชุมว่า “แปลงวิสัยทัศน์ลงสู่ภาคปฏิบัติ หรือ Turning Vision Into Reality” ในการประชุมครั้งนี้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์โพธิวิหค)ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลด้านนโยบายพลังงานของประเทศและในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีพลังงานของประเทศไทย ได้นำคณะผู้แทนไทยซึ่งประกอบด้วย 3 หน่วยงานหลักคือ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเดินทางไปร่วมการประชุมดังกล่าว
กำหนดการประชุม
ประเทศเจ้าภาพได้กำหนดการประชุมไว้เป็น 3 วัน คือ
ในวันพุธที่ 10 พ.ค. 2543 เป็นการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสซึ่งฝ่ายไทยมีเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (นายปิยสวัสดิ์อัมระนันทน์) เป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสไทยพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเข้าร่วมประชุมเพื่อทำหน้าที่กลั่นกรองสาระสำคัญสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีรวมทั้งซักซ้อมความเข้าใจด้านกำหนดการต่างๆ ให้เกิดความเข้าใจตรงกันทุกประเทศ
ในวันพฤหัสบดีที่ 11 พ.ค. 2543 ภาคเช้า เป็นพิธีเปิดโดยรัฐมนตรีพลังงานสหรัฐอเมริกา นายบิล ริชาร์ดสันหลังจากนั้นเป็นการประชุมของรัฐมนตรีเอเปคร่วมกับภาคเอกชน เรื่องการพัฒนาพลังงานสะอาดและยั่งยืน ส่วนภาคบ่าย แยกเป็น 2 ประชุมพร้อมกัน คือ เรื่องอนาคตของก๊าซธรรมชาติในภูมิภาคเอเปค และอนาคตของไฟฟ้าในภูมิภาคเอเปคในการนี้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์โพธิวิหค)ได้อภิปรายเกี่ยวกับการพัฒนาก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเปค
และในวันสุดท้าย คือ วันศุกร์ที่ 12 พ.ค. 2543 เป็นการประชุมรัฐมนตรีเอเปคมีการประชุมหลัก 3 หัวข้อ คือ
ประเด็นสำคัญด้านพลังงานของภูมิภาคเอเปค สำหรับศตวรรษที่ 21
กลยุทธ เพื่อนำไปสู่ภาคปฏิบัติ
การพัฒนาและใช้พลังงานสะอาด
สาระสำคัญของการประชุม
การประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค ครั้งที่ 4 นี้ที่ประชุมได้พิจารณาและร่วมกันให้ปฏิญญาในเรื่องความร่วมมือด้านพลังงานของกลุ่มเอเปคดังนี้
1. ปฏิญญารัฐมนตรีพลังงานเอเปค (APEC Energy Ministers’ Declaration)
ภายใต้คำขวัญของการประชุมที่ว่า “แปลงวิสัยทัศน์ สู่การปฏิบัติ” ที่ประชุมได้ให้คำมั่นที่จะลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังตามแนวคิดริเริ่มด้านพลังงานโดยให้เป็นไปด้วยความสมัครใจของแต่ละประเทศและคำนึงถึงความแตกต่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกกลุ่มเอเปคเป็นสำคัญ
ที่ประชุมยังได้ยืนยันร่วมกันที่จะพยายามผลักดันให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจความมั่นคงด้านพลังงาน และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมอย่างควบคู่กันไปโดยตระหนักดีว่าสาขาพลังงาน จะเป็นหัวใจสำคัญของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของเอเปคการเสริมสร้างอนาคตทางเศรษฐกิจและสังคมของเอเปคการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของตลาดการค้าและการสนับสนุนการพัฒนาอย่างสะอาดและยั่งยืน
ที่ประชุมเห็นว่าควรจะต้องให้ความสนใจในการปฏิบัติตามแนวคิดริเริ่มต่างๆที่กำหนดขึ้น เพราะเหตุว่า (1) ประเทศสมาชิกของเราจำนวนมากกำลังอยู่ระหว่างการปฏิรูปสาขาพลังงาน ซึ่งหากมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับประเทศสมาชิกอื่นๆ ในการเผชิญกับปัญหาต่างๆในช่วงการปรับเปลี่ยนไปสู่ตลาดที่เปิดกว้าง และมีการแข่งขันกันมากยิ่งขึ้นก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิกเหล่านั้น และ (2) ความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและผลจากการที่ต้องพึ่งพาน้ำมันจากภายนอกภูมิภาค ทำให้ประเด็นความมั่นคงด้านพลังงานเป็นเรื่องที่สมาชิกหลายๆ ประเทศต่างมีความกังวลเป็นอย่างยิ่ง
ที่ประชุมได้ให้คำมั่นว่า จะดำเนินการตามแนวคิดริเริ่มทางด้านพลังงานของเอเปคและจะประสานเป้าหมายของการเปิดเสรี และอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนเข้ากับเป้าหมายของความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและด้านเทคนิคซึ่งจะสนับสนุนซึ่งกันและกันให้ดีขึ้น
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้คำมั่นว่าจะยึดหลักกลยุทธ์การดำเนินการที่กำหนดขึ้นใหม่ ซึ่งเน้นแผนงานสนับสนุนการดำเนินการด้านพลังงานตามที่ประเทศสมาชิกร้องขอ ด้วยความสมัครใจและระบบการรายงานความก้าวหน้าด้วยตัวเอง ในการดำเนินการของประเทศสมาชิกต่อผู้นำเอเปคผ่านคณะทำงานด้านพลังงาน และระบบสายงานของเอเปค
2. แผนดำเนินการของเอเปคในด้านพลังงาน (Implementation Strategy for APEC’s Energy Program)
แผนดำเนินการของเอเปคในด้านพลังงาน แยกเป็น 2 ด้าน คือ
2.1 วิธีการสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติ (Implementation Facilitation)
เป็นการดำเนินการโดยสมัครใจของสมาชิกมีแนวทางในการแบ่งปันประสบการณ์ในการดำเนินการด้านพลังงานระหว่างกันด้วยการส่งคณะผู้เชี่ยวชาญ (Visit Team) ซึ่งอาจจะเรียกว่า คณะสนับสนุนการดำเนินการ (คณะสนับสนุนฯ) เดินทางไปยังประเทศสมาชิกเอเปคเพื่อร่วมกันจัดทำแนวทางการดำเนินการในเรื่องต่างๆ ที่ประเทศนั้นๆ ร้องขอเช่นที่ได้เคยส่งคณะผู้เชี่ยวชาญเอเปคเดินทางมาร่วมประชุมกับฝ่ายไทยในเรื่องก๊าซธรรมชาติ เมื่อปลายปี 2542 และประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง โดยกระบวนการในการดำเนินการจะเริ่มจากประเทศสมาชิกจะเป็นผู้ร้องขอความช่วยเหลือจากคณะสนับสนุนฯต่อประธานคณะทำงานด้านพลังงาน โดย คำร้องขอจะระบุรายละเอียดของสิ่งที่ประเทศสมาชิกคาดหวังว่าจะได้รับจากการมาเยือนของคณะสนับสนุนฯให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เมื่อได้รับคำเชิญ ประธานคณะทำงานด้านพลังงาน จะขอให้มีการแต่งตั้งคณะสนับสนุนฯโดยให้มีองค์สมาชิกที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของประเทศเจ้าภาพสมาชิกของคณะสนับสนุนฯ จะมาจากคณะทำงานด้านพลังงาน คณะผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆของคณะทำงานด้านพลังงาน คณะเครือข่ายธุรกิจของคณะทำงานด้านพลังงานคณะกำกับกิจการด้านพลังงาน ผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่ได้รับการแต่งตั้งและฝ่ายเลขานุการของคณะทำงานด้านพลังงาน จำนวนสมาชิกของคณะสนับสนุนฯจะจำกัดให้มีน้อยที่สุด (ประมาณ 5-7 คน) อย่างไรก็ตามเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างสมรรถนะรวมทั้งการให้คำแนะนำแก่รัฐบาลประเทศเจ้าภา
2.2 แผนงานการรายงานและวัดผลการดำเนินการ (Reporting and Measuring Implementation)
เป็นการดำเนินการโดยสมัครใจของสมาชิกเช่นกัน โดยจัดทำเป็นรายงานประจำปีภายใต้หลักการนโยบายด้านพลังงาน 14 ประการ และประเด็นใหม่ๆ (initiatives) ด้านพลังงานที่เห็นชอบและให้นำเสนอต่อผู้นำเอเปคผ่านทางคณะทำงานด้านพลังงานซึ่งมีการประชุมกันเป็นประจำปีละสองครั้ง และระบบสายงานของเอเปครายงานดังกล่าวควรจะระบุถึงเป้าหมายและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดริเริ่มแต่ละประการในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวและก่อนสิ่งอื่นใดควรที่จะระบุถึงดัชนีชี้วัดและมาตรฐานเปรียบเทียบความก้าวหน้าในการดำเนินการ คณะทำงานด้านพลังงานจะให้ความสำคัญต่อการกำหนดกรอบการรายงาน ที่มีรูปแบบร่วมกันและเป็นที่ยอมรับซึ่งประเทศสมาชิกต่างๆ อาจจะพิจารณานำไปใช้
3. แถลงการณ์ร่วมในเรื่องพลังงานสะอาด กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Joint Statement on Clean Energy and Sustainable Development)
แถลงการณ์ฉบับนี้ ยืนยันความมุ่งมั่น ที่จะพัฒนาโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและใช้พลังงานอย่างสะอาด และตระหนักว่าผลประโยชน์ต่างๆ ต่อคุณภาพชีวิตจะเป็นผลมาจากการมีพลังงานที่สะอาดใช้ในราคาที่เหมาะสมนอกจากนี้ยังเน้นย้ำถึงมาตรการที่ได้ดำเนินการและที่วางแผนไว้แล้วเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการพัฒนาและการใช้พลังงานโดยตระหนักดีถึงการที่ต้องประสานกับเป้าหมายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงทางด้านพลังงาน ควบคู่กันไปด้วย อีกทั้งแถลงการณ์ฉบับนี้ตระหนักดีว่าการพัฒนาและการใช้พลังงานสะอาด อย่างมีประสิทธิภาพและคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะช่วยจำกัดหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เป้าหมายในอนาคต และแนวทางดำเนินการ
รัฐมนตรีพลังงานตระหนักดีว่าในการที่จะทำให้การพัฒนาและการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนเป็นจริงขึ้นได้ในศตวรรษที่ 21 จำเป็นจะต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดและต่อเนื่องเพื่อขจัดอุปสรรคที่ยังคงหลงเหลืออยู่ทางด้านการค้าและการลงทุนด้านพลังงานเพื่อส่งเสริมโครงการต่างๆ ที่มุ่งแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นระดับภูมิภาค และระดับโลก และเพื่อเพิ่มโอกาสสำหรับภาคเอกชน ให้มากขึ้นกว่าเดิมรัฐมนตรีพลังงานให้การยืนยันอีกครั้งถึงความสำคัญของความพยายามร่วมกันในการจัดหาพลังงานให้พอเพียง มีเสถียรภาพและมีสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมร่วมมือกันมากขึ้นในการปกป้องสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาคและระดับโลก รวมทั้งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในแต่ละประเทศสมาชิก นอกจากนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาและการใช้พลังงานอย่างสะอาดรัฐมนตรีพลังงานให้การยืนยันอีกครั้งถึงความจำเป็นที่จะต้องมีแนวนโยบายที่สนับสนุนงานวิจัยการพัฒนาและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พลังงานหมุนเวียนรวมทั้งเทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาดอื่นๆอีกทั้งยังสนับสนุนให้มีการจัดหาพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรัฐมนตรีพลังงานตระหนักดีว่า นโยบายการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืนเป็นองค์ประกอบสำคัญของทุกกลยุทธ์ ที่ใช้ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้อนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศขององค์การสหประชาชาติทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ให้คำมั่นว่า จะแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพบรรยากาศรวมถึงผลเสียอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว รัฐมนตรีพลังงานตระหนักดีเช่นกันว่าประเทศที่พัฒนาแล้วยอมรับที่จะทำหน้าที่เป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาระยะยาวด้วยการลดปัญหามลพิษอันเกิดจากการกระทำของมนุษย์
การประชุมเอเปค ปี 2546 (APEC 2003)
ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ประจำปี 2546 ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมและการประชุมในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่การประชุมผู้นำการประชุมระดับรัฐมนตรี การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและการประชุมระหว่างตัวแทนภาคธุรกิจ รวมทั้งสิ้น 23 การประชุมด้วยกันโดยการประชุมที่มีระดับสูงสุดได้แก่การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 11 ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 ตุลาคม 2546 ณ กรุงเทพมหานคร
เป้าหมายหลักของการประชุมเอเปค ปี 2546 ไทยซึ่งเป็นเจ้าภาพ ได้กำหนดเป้าหมายหลักของการประชุมเอเปค 2546 ได้แก่ดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนตามเป้าหมายโบกอร์ของเอเปคส่งเสริมกิจกรรมในสามสาขาความร่วมมือหลักของเอเปคได้แก่ การค้า การลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการสนับสนุนบทบาทของเอเปคในการส่งเสริมกระบวนการเจรจาในกรอบองค์การการค้าโลกส่งเสริมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของสมาชิกในการดำเนินการเปิดเสรี
หัวข้อหลัก (theme) และหัวข้อย่อย (Sub-themes) ของการประชุมเอเปค ปี 2546
Theme ของการประชุมเอเปคปี 2546 ได้แก่ “A World of Differences: Partnership for the Future” ซึ่งเน้นการใช้ความแตกต่างทางศักยภาพของสมาชิกเอเปคให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินงานร่วมกันเพื่อนำไปสู่ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคในการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายของ Theme การประชุมข้างต้น ไทยได้กำหนด Sub-themes เพื่อเป็นแนวทางความร่วมมือดังต่อไปนี้
1. การมีเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้
2. ส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์
3. การมีโครงสร้างทางการเงินและการคลังที่เหมาะสม
4. ส่งเสริมความเจริญเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจขนาดจิ๋ว
5. ดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาสาขาความร่วมมือต่าง ๆ ได้แก่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การมีโครงข่ายรองรับทางสังคม การสาธารณสุข การอบรมวิชาชีพ
ผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคครั้งที่ 1/2007 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวเนื่อง
ระหว่างวันที่ 15-26 มกราคม 2550
ณกรุงแคนเบอร์ราออสเตรเลีย
1. ภาพรวมของการประชุม
การประชุม SOM I/2007 จัดขึ้นก่อนการประชุมกลไกเอเปคอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือประเด็นสำคัญและกำหนดแนวทางการทำงานของกลไกต่างๆตลอดทั้งปีเอเปค 2007 ตามที่ที่ประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 14 และที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปคครั้งที่ 18 ที่กรุงฮานอยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 ได้มอบนโยบายไว้โดยภายหลังการประชุม SOM I/2007 นาย David Spencer ประธานเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคได้เข้าร่วมการประชุมกลไกต่างๆของเอเปคที่จัดในช่วงดังกล่าวอาทิคณะกรรมการเศรษฐกิจคณะกรรมการด้านการค้าและการลงทุนคณะทำงานด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและคณะทำงานด้านการต่อต้านการทุจริตเพื่อประสานนโยบายและแจ้งผลการหารือของที่ประชุม SOM I/2007 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแต่ละกลไก (สาระสำคัญของการประชุมที่เกี่ยวเนื่องปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1)
2. ประเด็นสำคัญ
2.1 การรวมตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาค
ที่ประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 14 มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคศึกษาแนวทางและวิธีการในการส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคซึ่งรวมถึงการจัดทำเขตการค้าเสรีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกอันเป็นหนึ่งในลู่ทางระยะยาวของเอเปคและให้รายงานผลต่อที่ประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 15 ในเดือนกันยายน 2550 ที่ประชุม SOM I/2007 ได้หารือแนวทางดำเนินการศึกษาเรื่องนี้และประธานเจ้าหน้าที่อาวุโสฯได้เสนอกำหนดการทำงานของเจ้าหน้าที่อาวุโสพร้อมทั้งโครงร่างรายงานซึ่งประกอบด้วย 4 บทได้แก่ 1) Trends in Asia-Pacific economic integration 2) Implications for APEC 3) Options for promoting regional economic integration และ 4) Recommendations for promoting regional economic integration และเห็นชอบให้คณะกรรมการด้านการค้าและการลงทุนผู้แทนจากภาควิชาการและผู้แทนจากสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคมีส่วนร่วมในการจัดทำรายงานด้วย (รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2)
2.2 การปฏิรูปโครงสร้าง (Structural Reform)
ที่ประชุม SOM I/2007 ได้หารือประเด็นเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างซึ่งที่ประชุมผู้นำฯเมื่อปี 2548 ได้มอบหมายให้คณะกรรมการเศรษฐกิจดำเนินการและรายงานผลในปี 2553 นาย Bob Buckle (นิวซีแลนด์) ประธานคณะกรรมการเศรษฐกิจได้เสนอจัดตั้งกลุ่มเพื่อนประธาน 5 กลุ่ม
2.3 การปฏิรูปเอเปค (APEC Reform)
ประธานเจ้าหน้าที่อาวุโสฯได้จัดตั้งกลุ่มเพื่อนประธาน (Friends of the Chair - FOTC) ด้านการปฏิรูปประจำปี 2007 ประกอบด้วยจีนญี่ปุ่นเปรูสิงคโปร์ไทยสหรัฐอเมริกาผู้อำนวยการบริหารและรองผู้อำนวยการบริหารสำนักเลขาธิการเอเปคและประธานคณะกรรมการงบประมาณและบริหารเอเปคและได้เสนอร่างแผนงานและระบุกรอบเวลาในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มเพื่อนประธานประเด็นการปฏิรูปที่สำคัญในปีนี้ได้แก่ 1) การปฏิบัติตามข้อเสนอแนะด้านการปฏิรูปเอเปคที่ผู้นำเศรษฐกิจเอเปคให้ความเห็นชอบเมื่อปี 2549 2) การเพิ่มค่าสมาชิก 3) การจัดสรรบุคลากรและงบประมาณเพิ่มเติมให้สำนักเลขาธิการเอเปคและ 4) การตั้ง term-appointed Executive Director ของสำนักเลขาธิการเอเปค
2.4 ประเด็นเรื่องพลังงาน
ที่ประชุม SOM I/2007 เห็นชอบให้คณะทำงานด้านพลังงานหารือแนวทางความร่วมมือด้านพลังงานในกรอบเอเปคเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายเรื่องความมั่นคงพลังงานและบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้พลังงาน
2.5 การรับสมาชิกใหม่
เนื่องจากการตัดสินใจระงับการรับสมาชิกใหม่ของเอเปคจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ประธานเจ้าหน้าที่อาวุโสฯเห็นว่าเรื่องนี้มีความอ่อนไหวและมีนัยสำคัญทางการเมืองจึงได้เสนอว่าจะหารือกับเจ้าหน้าที่อาวุโสของแต่ละเขตเศรษฐกิจเพื่อขอทราบท่าทีและข้อพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับการรับสมาชิกใหม่และจะรายงานผลต่อที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสครั้งที่ 2/2007 ทั้งนี้หากมีเขตเศรษฐกิจที่ไม่ใช่สมาชิกเอเปคขอเข้าร่วมการประชุมของกลไกเอเปคขอให้แต่ละกลไกและสำนักเลขาธิการเอเปครายงานให้ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสทราบด้วย
2.6 ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและวิชาการ
ที่ประชุม SOM I/2007 รับทราบรายงานของ SOM Steering Committee on ECOTECH (SCE) และการประชุม SCE-Committee of the Whole (SCE-COW) ซึ่งเป็นการประชุมระหว่างประธาน (Chair/Lead Shepherd) ของกลไกทั้งหมดภายใต้ SCE เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2550 เพื่อรับนโยบายและหารือเกี่ยวกับแผนการทำงานของกลไกต่างๆในปีนี้รวมทั้งรับทราบและปฏิบัติตามนโยบายในการทบทวนปรับปรุงและยุบรวมกลไกต่างๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วยนอกจากนี้ที่ประชุม SOM I/2007ยังได้รับรองแผนการดำเนินงานและ SCE policy criteria ประจำปี 2007 ด้วย
2.7 ความมั่นคงมนุษย์
การต่อต้านการก่อการร้ายที่ประชุม SOM I/2007 รับทราบแผนการทำงานของคณะทำงานเฉพาะกิจด้านการต่อต้านการก่อการร้ายซึ่งกำหนดความสำคัญของการทำงาน 5 เรื่องได้แก่ 1) การใช้แนวทางที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ 2) เน้นความร่วมมือทางวิชาการและการเสริมสร้างขีด3
ความสามารถ 3) เสริมสร้างความร่วมมือกับกลไกเอเปคอื่นๆและองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง 4) สร้างความร่วมมือที่ใกล้ชิดกับภาคเอกชนและ 5) ส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลและการรับรู้ให้แก่สาธารณชนนอกจากนี้ยังรับทราบข้อริเริ่มใหม่ของคณะทำงานฯในเรื่องการสร้างเครือข่ายการติดต่อเพื่อการป้องกันสาธารณูปโภคด้านพลังงานการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการขนส่งพื้นผิวและการพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ-เอกชนในด้านการต่อต้านการก่อการร้าย
ประเด็นด้านสาธารณสุขที่ประชุม SOM I/2007 รับทราบแผนการทำงานปี 2550 ของคณะทำงานเฉพาะกิจด้านสาธารณสุขในปีนี้ไทยเสนอโครงการ 3 โครงการได้แก่ 1) APEC Training for Programme Managers on TB/HIV 2) AIDS Disease Management System และ 3) APEC Regional Enhanced Animal Disease Surveillance Project ทั้งนี้คณะทำงานฯจะพิจารณาทบทวนอาณัติในการทำงานและรายงานให้ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการทำงานที่เป็นไปได้ต่อไป
การเตรียมความพร้อมต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ประชุม SOM I/2007 รับทราบแผนการประจำปี 2550 ของคณะทำงานเฉพาะกิจเอเปคด้านการเตรียมความพร้อมต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินและพิจารณาวิธีเตรียมพร้อมภูมิภาคสำหรับการรับเหตุภัยพิบัติและการฟื้นฟูภายหลังเหตุภัยพิบัติโดยที่ประชุมให้ความเห็นชอบต่อการต่ออายุคณะทำงานเฉพาะกิจฯไปอีกสองปี
3. การประชุมอื่นๆ
3.1 ในปี 2550 ไทยเป็นประธานการประชุม APEC ASEAN Caucus ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกอาเซียนที่เป็นสมาชิกเอเปคทั้งหมด 7 เขตเศรษฐกิจได้แก่บรูไนดารุสซาลามอินโดนีเซียมาเลเซียฟิลิปปินส์สิงคโปร์ไทยและเวียดนามซึ่งตามแนวปฏิบัติที่ผ่านมาจะจัดก่อนการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคเพื่อรับทราบท่าทีในประเด็นสำคัญภายใต้กรอบเอเปคโดยในครั้งนี้ไทยได้จัดประชุมฯเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2550 เพื่อหารือในประเด็นสำคัญ 4 ประเด็นได้แก่การจัดทำเขตการค้าเสรีในเอเชีย-แปซิฟิกการจัด FTA model measures การปฏิรูปเอเปคและการรับสมาชิกใหม่และต่อมาไทยได้เรียกประชุม APEC ASEAN Caucus ครั้งที่ 2 เพื่อหารือเรื่องข้อเสนอของประธานเจ้าหน้าที่อาวุโสฯเกี่ยวกับแผนการทำงานเรื่องการรวมตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคการประชุมเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการแลกปลี่ยนข้อมูลและประสานท่าที
3.2 การทบทวนแผนปฏิบัติการรายสมาชิกครั้งที่ 1 ของรอบที่ 3 ระหว่างปี 2007- 9 โดยมีเขตเศรษฐกิจที่ร่วมการทบทวนได้แก่เขตบริหารพิเศษฮ่องกงญี่ปุ่นออสเตรเลียและจีนไทเป
ผลการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมสารสนเทศครั้งที่ 8
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านโทรคมนาคมและอุตสาหกรรม
สารสนเทศครั้งที่ 8 ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอและมอบหมายหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องที่เป็นเจ้าของเครือข่าย (เช่นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทรวงพลังงาน
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงสาธารณสุขสำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงบประมาณเป็นต้น) พิจารณาปรับปรุงยุทธศาสตร์และ
แผนการดำเนินงานรวมถึงสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติอย่างเป็น
รูปธรรมและเป็นการสนับสนุนประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมายของเอเปคต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ทก.) เสนอว่า
1. การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมสารสนเทศ (APEC
TELMIN) เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศของสมาชิก
เอเปค 21 เขตเศรษฐกิจประกอบด้วยออสเตรเลียบรูไนดารุสซาลามแคนาดาชิลีสาธารณรัฐประชาชนจีน
เขตบริหารพิเศษฮ่องกงอินโดนีเซียญี่ปุ่นสาธารณรัฐเกาหลีมาเลเซียเม็กซิโกนิวซีแลนด์ปาปัวนิวกินีเปรู
ฟิลิปปินส์รัสเซียสิงคโปร์จีนไทเปไทยสหรัฐอเมริกาและเวียดนามจัดขึ้นทุกๆ 2-3 ปีเพื่อผลักดันการ
ขับเคลื่อนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและยั่งยืนและนำผลการประชุม
ในหัวข้อต่างๆเสนอต่อที่ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคที่ผ่านมาการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านโทรคมนาคม
และอุตสาหกรรมสารสนเทศแล้วจำนวน 7 ครั้ง
2. การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมมีรัฐมนตรีเอเปคหรือผู้แทนทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจและมี
ผู้แทนจากสำนักเลขาธิการเอเปคและผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมประชุมโดยมีนาย Yoshihiro Katayama
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารและนายTadahiro Matsushita รัฐมนตรีช่วยอาวุโส
กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นทำหน้าที่ประธานร่วมของการประชุม
3. ที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปคได้รับรอง “ปฏิญญาโอกินาวา” (Okinawa Declaration) ซึ่งเน้น
ย้ำความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจใน
ระดับโลกส่งเสริมนวัตกรรมทางเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็งและเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดทำยุทธศาสตร์
ความเจริญเติบโต (Growth Strategy) ของเอเปคตลอดจนส่งเสริมสภาพแวดล้อมการแข่งขันที่เสรีและเป็น
ธรรมเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและสารสนเทศและที่ประชุมได้รับรอง “แผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ของคณะทำงานเอเปคด้านโทรคมนาคมและสารสนเทศ” ปี 2553-2558 (APEC TEL Strategy
Action Plan: 2010-2015) โดยเป็นส่วนหนึ่งของปฏิญญาฯแผนดังกล่าวเป็นแผนการดำเนินงานในระยะ 5 ปี
ทั้งนี้ปฏิญญาโอกินาวาจะมีการนำเสนอต่อที่ประชุมผู้นำเอเปคครั้งที่ 18 ซึ่งจะจัดขึ้นที่เมือง
โยโกฮามาประเทศญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายน 25534. การประชุม APEC TELMIN ครั้งที่ 8 ได้กำหนดหัวข้อ (Theme) ของการประชุมคือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในฐานะกลไกขับเคลื่อนสู่ความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมรูปแบบใหม่(ICT as an Engine for New Socio-Economic Growth) และมีการกำหนดหัวข้อย่อยเพื่อให้รัฐมนตรีเขตเศรษฐกิจต่างๆได้นำเสนอวิสัยทัศน์โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้นำเสนอวิสัยทัศน์เรื่องการพัฒนาบรอดแบนด์ในประเทศไทยภายใต้หัวข้อ “การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความเจริญรูปแบบใหม่” (Develop ICT to Promote New Growth)ประกอบด้วยการจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT 2020) เพื่อนำไปสู่สังคมอุดมปัญญา (Smart Thailand) การจัดทำนโยบายยุทธศาสตร์บรอดแบนด์เพื่อพัฒนาบริการบรอดแบนด์ให้เป็นบริการขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึงเพียงพอราคาที่เหมาะสมภายใต้การแข่งขันเสรีและเป็นธรรมรวมถึงการนำเสนอข่าวสารเพื่อการบริหารเวชภัณฑ์และสาระน่ารู้ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์กระทรวงสาธารณสุขที่มา: สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรีโดยทีมโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีประจำวันที่28 ธันวาคม 2553โครงการที่ใช้ประโยชน์จากบรอดแบนด์อย่างเป็นรูปธรรมได้แก่โครงการด้านสาธารณสุข, ด้านการศึกษา,การจัดการภัยพิบัติฯลฯและมีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ได้แก่สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจบริการบรอดแบนด์ขอประเทศไทย
5. การประชุมรัฐมนตรีเอเปคฯได้ให้ความสำคัญกับเรื่องความมั่นคงปลอดภัยบนไซเบอร์(Cybersecurity) เพื่อปกป้องภัยคุกคามออนไลน์โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่เป็นเด็กและเยาวชนโดยเน้นการกำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพและแลกเปลี่ยนข้อมูลและเสริมสร้างความร่วมมืออย่างกว้างขวางตลอดจนสร้างความตระหนักเรื่องCybersecurityในภูมิภาคเอเปคให้มากขึ้นนอกจากนั้นที่ประชุมดัวกล่าวได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาในสาขาที่สำคัญได้แก่การศึกษาสาธารณสุขพลังงานและสิ่งแวดล้อมโดยมีเป้าหมายร่วมกันในการเข้าถึงบรอดแบนด์อย่างทั่วถึงภายในปี 2548 และกำหนดเป้าหมายท้าทายในการเข้าถึงบรอดแบนด์ความเร็วสูงยุคหน้าภายในปี 2563
6. เนื่องจากเป้าหมายการพัฒนาบรอดแบนต์ของเอเปคสอดคล้องกับนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติโดยมุ่งพัฒนาบริการบรอดแบนด์ของประเทศไทยให้เป็นบริการขั้นพื้นฐานของประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมและเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของประเทศจึงควรเสนอให้หน่วยงาต่างๆที่เกี่ยวข้องที่เป็นเจ้าของโครงข่ายพิจารณาปรับปรุงยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานรวมถึงสนับสนุนงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นการสนับสนุนประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมายของเอเปคต่อไป
7. นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทยยังได้
หารือทวิภาคีกับนาย Yoshihiro Katayama รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารญี่ปุ่น
เกี่ยวกับการประสานความร่วมมือด้านไอซีทีระหว่างสองฝ่ายการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องของ
Disaster Recovery System การเลือกตั้งระดับท้องถิ่นและโอกาสในการร่วมทุนระหว่างผู้ประกอบการ
โทรคมนาคมของสองฝ่ายเป็นต้น
เอเปค 2553 ญี่ปุ่น
ประเด็นที่ญี่ปุ่นให้ความสำคัญในปีเอเปค 2553
1. แนวคิดใหม่เรื่องการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
2. การประเมินการบรรลุเป้าหมายโบกอร์
3. ความมั่นคงทางอาหาร
4. การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะเรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Efficiency) และการส่งเสริมสินค้าและบริการสิ่งแวดล้อม ( EGS)
5. การสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาค โดยการส่งเสริมความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทาน(Supply-Chain Connectivity)
ผลการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 18ที่ นครโยโกฮามา
1. แถลงการณ์ผู้นำ ครั้งที่ 18 เรื่อง The Yokohama Vision – Bogor and Beyond
2. Leaders’ Statement on 2010 Bogor Goals Assessment
3. PathwaystoFTAAP(Free Trade Agreement of the Asia-Pacific)
4. TheAPECLeaders’ GrowthStrategy


เอเปค 2554 สหรัฐอเมริกา
ประเด็นที่สหรัฐฯ ให้ความสำคัญในปีเอเปค2554
1. การรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอย่างใกล้ชิดและการขยายการค้ารวมทั้งการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (FTAAP) และ การปรับปรุงความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ (Ease of Doing Business – EoDB)
2. การเจริญเติบโตสีเขียวที่มุ่งเน้น การใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การค้าสินค้าและบริการสิ่งแวดล้อม การสร้างงานรักษ์สิ่งแวดล้อม และการลดการอุดหนุน fossil fuel เป็นต้น
3. ความร่วมมือทางด้านกฎระเบียบ (regulatory cooperation and convergence)

กำหนดการเบื้องต้นของการประชุมเอเปคประจำ ปี 2554 ของสหรัฐฯ
ข่าวเศรษฐกิจกระทรวงการคลัง -- ศุกร์ที่ 17 กันยายน 2553 12:04:02 น.
1. การประชุมเอเปค2011 Symposium and Informal Senior Officials Meeting (ISOM) จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 8-10 ธันวาคม 2553 ที่ East-West Center เมืองโฮโนลูลูมลรัฐฮาวาย โดยจะแบ่งเป็นการประชุม APEC Symposium ในวันที่ 8-9 ธันวาคม 2553 และการประชุม ISOM ในวันที่ 10
ธันวาคม 2553
ทั้งนี้ กำหนดการและรายละเอียดของโรงแรมที่พักสาหรับการประชุมข้างต้นปรากฎตามเอกสารแนบ อนึ่งฝ่ายผู้จัดขอให้เขตเศรษฐกิจเอเปคแจ้งรายละเอียดการจองโรงแรมที่พักภายในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2553 ด้วย

APEC

APEC
เอเปค(APEC)
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเอเปค
ภูมิหลัง“เอเปค (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC)” เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเขตเศรษฐกิจ1 (economy) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) โดยนายBobHawkeนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียในขณะนั้นที่มองว่าออสเตรเลียจาเป็นต้องเกาะเกี่ยวกับเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกและทวีปอเมริกาเหนือท่ามกลางแนวโน้มของการขยายกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในยุโรปและอเมริกาเหนือและความไม่แน่นอนของการเจรจาการค้าระหว่างประเทศไทยอยู่ในสมาชิกแรกเริ่มของเอเปคตั้งแต่ต้นซึ่งมี 12 เขตเศรษฐกิจคือออสเตรเลียบรูไนแคนาดาอินโดนีเซียญี่ปุ่นเกาหลีใต้มาเลเซียนิวซีแลนด์ฟิลิปปินส์สิงคโปร์ไทยและสหรัฐอเมริกาต่อมาเอเปคได้รับสมาชิกเพิ่มในปีต่างๆรวมเป็น 21 เขตเศรษฐกิจดังนี้สาธารณรัฐประชาชนจีน (2534) เขตบริหารพิเศษฮ่องกง (2534) จีนไทเป (2534) เม็กซิโก (2536) ปาปัวนิวกินี (2536) ชิลี (2537) เปรู (2540) เวียดนาม(2540) และรัสเซีย (2540)เอเปคเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีพลังและพลวัตรของการเจริญเติบโตสูงสุดของโลกโดยมีGDP per capita เมื่อปีพ.ศ. 2532 เท่ากับ 5314 (Non-APEC เท่ากับ 4149) และปีพ.ศ. 2551 เท่ากับ 14169(Non-APEC เท่ากับ 7822) สมาชิกมีประชากรรวมกันประมาณ 2,639 ล้านคนคิดเป็นสัดส่วนประมาณ45% ของประชากรโลกและมีการค้ารวมกันมากกว่า 24,994 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 46% ของการค้าโลกและ 57% ของ GDP โลกผลผลิตการค้าและการลงทุนของเอเปคมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของโลกภูมิภาคเอเซียแปซิฟิคมีการค้ากันเองภายในกลุ่มร้อยละ 70 และการค้านอกกลุ่มร้อยละ 30 การที่เอเปคมีสัดส่วนการค้าภายในกลุ่มสูงทาให้เอเปคเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีส่วนสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มของภูมิภาคนี้ (ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ 9 กุมภาพันธ์ 2553)เอเปคสนับสนุนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแบบเปิดกว้าง (open regionalism) โดยสิทธิประโยชน์ที่สมาชิกเอเปคให้แก่กันจะมีผลให้ผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกเอเปคได้รับประโยชน์ด้วย (ปกติกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่นจะให้สิทธิประโยชน์แก่กันและกันเฉพาะในกลุ่มและใช้หลักการเจรจาต่างตอบแทนเพื่อแลกเปลี่ยนสิทธิประโยชน์กับประเทศที่มิได้เป็นสมาชิก) เอเปคมีเป้าหมายสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคี (multilateral trading system) โดยการดาเนินการของเอเปคจะเป็นการหารืออย่างตรงไปตรงมามิใช่การเจรจาแต่ยึดหลักการฉันทามติ (consensus) และความสมัครใจ (voluntarism) ของทุกฝ่ายความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของสมาชิกโดยคานึงถึงความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจและสังคมและระดับการพัฒนาของสมาชิก
1 ในบริบทของเอเปคจะใช้คาว่า “เขตเศรษฐกิจ (economy)” แทนคาว่า “ประเทศ” เนื่องจากสมาชิกของเอเปคสองรายคือเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและจีนไทเปมิได้มีสถานะเป็นประเทศแต่ได้รับการยอมรับให้เข้าเป็นสมาชิกในฐานะที่เป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความสาคัญในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเป้าหมายของเอเปคคือเป้าหมายโบกอร์ที่สมาชิกเอเปคเห็นชอบในระหว่างการประชุมผู้นาฯที่เมืองโบกอร์ประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี 2537 ที่จะให้มีการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิคโดยเริ่มจากสมาชิกที่พัฒนาแล้วภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) และสมาชิกกาลังพัฒนาที่เหลือภายในปี 2563(ค.ศ. 2020)การค้าระหว่างไทยกับเอเปค(ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ 9 กุมภาพันธ์ 2553)เอเปคมีบทบาทสาคัญด้านการค้าและการลงทุนของไทยโดยในปี 2552 การค้าระหว่างไทยกับสมาชิกเอเปคมีมูลค่า 193,432.6 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67.6 ของมูลค่าการค้ารวมของไทยเอเปคเป็นตลาดส่งออกสาคัญที่สุดของไทยในปี 2552 ไทยส่งออกไปเอเปคมูลค่า 102,686 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นร้อยละ 67.3 ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทยสินค้าออกสาคัญของไทยไปเอเปคที่ลดลงได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้ารถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบยางพาราเม็ดพลาสติกเหล็กเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์น้ามันสาเร็จรูปเป็นต้นส่วนสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นได้แก่อัญมณีและเครื่องประดับผลิตภัณฑ์ยางเคมีภัณฑ์หนังสือและสิ่งพิมพ์ผลิตภัณฑ์มันสาปะหลังกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งเครื่องซักผ้าเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบเอเปคเป็นแหล่งนาเข้าสาคัญที่สุดของไทยโดยในปี 2552 ไทยนาเข้าจากเอเปคมูลค่า 90,746.5 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นร้อยละ 67.8 ของการนาเข้ารวมของไทยสินค้าที่ไทยนาเข้าเพิ่มขึ้นจากเอเปคได้แก่เครื่องบินเครื่องร่อนอุปกรณ์ผักผลไม้และของปรุงแต่ที่ทาจากผักผลไม้แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ยุทธปัจจัยเลนซ์และส่วนประกอบข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้งอาหารปรุงแต่งสาหรับเลี้ยงทารกส่วนสินค้าที่นาเข้าลดลงจากเอเปคได้แก่เครื่องจักรกลและส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้าเหล็กเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบเคมีภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบน้ามันดิบเป็นต้น
โครงสร้างองค์กรของเอเปค(ที่มา: กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 8 มีนาคม 2550)โดยที่เอเปคก่อตั้งขึ้นมาด้วยความต้องการที่จะเป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจแบบหลวมๆจึงไม่มีการจัดตั้งโครงสร้างองค์กรกลางในลักษณะเช่นเดียวกับองค์การความร่วมมืออื่นๆเช่นสหภาพยุโรปหากแต่ประกอบด้วยโครงสร้างองค์กรที่สาคัญๆ 2 ส่วนคือส่วนที่เป็นกลไกการดาเนินงานในแต่ละปีซึ่งเป็นความรับผิดชอบของสมาชิกที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานของการประชุมปีนั้นๆและส่วนที่เป็นองค์กรกลางที่เรียกว่าสานักเลขาธิการเอเปค (APEC Secretariat) ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี 2535 เพื่อทาหน้าที่คล้ายกับเป็นฝ่ายเลขานุการให้การสนับสนุนสมาชิกที่เป็นประธานการประชุมเอเปคในแต่ละปีโดยที่ประธานการประชุมเอเปคจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทุกปีทาให้ไม่สามารถติดตามความคืบหน้าการดาเนินการต่างๆได้อย่างต่อเนื่องสานักเลขาธิการเอเปคจึงเปรียบเสมือนหน่วยความจาภาคสถาบัน (institutional memory) เพื่อทางหน้าที่ติดตามประสานงานให้มีความต่อเนื่องของกิจกรรมความร่วมมือต่างๆประเทศไทยดารงตาแหน่งรองผู้อานวยการบริหารสานักเลขาธิการเอเปคในปี 2545 และผู้อานวยการบริหารฯในปี 2546สาหรับโครงสร้างองค์กรส่วนที่ 1 นั้นประกอบด้วยกลไกการดาเนินการหลัก 6 ระดับได้แก่
1. การประชุมผู้นาเศรษฐกิจ (Economic Leaders’ Meeting)
เป็นการประชุมระดับสูงสุดของเอเปคโดยมีผู้นาประเทศ/รัฐบาลและเขตเศรษฐกิจของแต่ละสมาชิกเข้าร่วมประชุมจัดประชุมปีละ 1 ครั้งครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาเมื่อพ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) สาหรับประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมฯเจ้าภาพจะสลับกันไประหว่างสมาชิกจากกลุ่มอาเซียนและสมาชิกนอกกลุ่มอาเซียนในอัตรา 1 ต่อ 2 สาหรับสมาชิกเอเปคที่จะเป็นเจ้าภาพต่อจากประเทศไทยในปี 2546 ได้แก่ชิลี (2547) สาธารณรัฐเกาหลี (2548) เวียดนาม (2549) ออสเตรเลีย(2550) เปรู (2551) สิงคโปร์ (2552) และญี่ปุ่น (2553)
2. การประชุมรัฐมนตรี (Ministerial Meeting)
เป็นการประชุมร่วมของรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านการค้าประจาปีเจ้าภาพจัดการประชุมคือสมาชิกที่เป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในปีนั้นประชุมปีละ 1 ครั้งครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2532 (ค.ศ.1989) สาหรับประเทศไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะเป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมและในส่วนของการประชุมรัฐมนตรีรายสาขามีทั้งหมด 16 สาขา (ค.ศ. 1992-2009)โดยในปีนี้ญี่ปุ่นซึ่งเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมเอเปคได้เสนอให้เพิ่มเติมการประชุมรัฐมนตรีภาคเกษตรเอเปค(เปลี่ยนเป็นรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปคภายหลัง) ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 16-17 ตุลาคม 2553 ณเมืองนิอิกาตะประเทศญี่ปุ่น
3. การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials’ Meetings - SOMs)
โดยธรรมเนียมปฏิบัติจะมีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอย่างเป็นทางการ 3 ครั้งและไม่เป็นทางการ 2 ครั้ง(ในช่วงต้นของปีที่เข้ารับหน้าที่เป็นประธานและช่วงปลายปีก่อนการประชุมรัฐมนตรีเอเปค) สาหรับประเทศไทยมีปลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม SOM ทำหน้าที่พิจารณาการดาเนินการของเอเปคในทุกๆด้านรวมทั้งติดตามความคืบหน้าของกิจกรรมภายใต้คณะทางานและกลุ่มทางานต่างๆของเอเปคการบริหารงานของสานักเลขาธิการเอเปค (APEC Secretariat) และงบประมาณสาหรับกิจกรรมต่างๆของเอเปคเพื่อเสนอให้ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไปสาหรับปี 2546 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้ทาหน้าที่ประธานการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM Chair) โดยมีอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย (SOM Leader)

4. การประชุมรัฐมนตรีเอเปคในสาขาต่างๆ (Sectoral Ministerial Meetings)
เอเปคจัดประชุมรัฐมนตรีรายสาขาตามวาระที่กาหนดที่ผ่านมามีการประชุมรัฐมนตรีรายสาขาได้แก่ด้านการค้าด้านการศึกษาด้านพลังงานด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการคลังด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมสารสนเทศและด้านการขนส่งสาหรับปี 2546 มีการประชุมรัฐมนตรีด้านต่างๆในประเทศไทยดังนี้รัฐมนตรีด้านการค้า (2-3 มิถุนายน) รัฐมนตรีสาธารณสุขสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาเรื่องโรคซาร์ส(27-28 มิถุนายน) รัฐมนตรีด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (7-8 สิงหาคม) รัฐมนตรีคลัง (4-5กันยายน) และรัฐมนตรีเอเปคซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีพาณิชย์ (17-18 ตุลาคม)
5. คณะกรรมการ Committees) เอเปคมี 4 คณะกรรมการหลักได้แก่
5.1 คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุน (Committee on Trade and Investment - CTI) เป็นเวที
ปรึกษาหารือและติดตามการดาเนินการด้านการเปิดเสรีและการอานวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน
5.2 คณะกรรมการเศรษฐกิจ (Economic Committee - EC) ทาหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์แนวโน้มและประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสมาชิกเอเปคเพื่อสนับสนุนการดาเนินการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการของเอเปครวมทั้งหารือแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของสมาชิกเอเปค
5.3 คณะกรรมการว่าด้วยงบประมาณและการบริหาร (Budget and Management Committee - BMC) มีบทบาทในการให้คาแนะนาต่อเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคในด้านงบประมาณการบริหารและการจัดการประเทศไทยดารงตาแหน่งรองประธาน BMC ในปี 2546 และประธานในปี 2547
5.4 คณะกรรมการอานวยการของเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ(SOM Steering Committee on Economic and Technical Cooperation - SCE) มีบทบาทในการประสานและกาหนดกรอบนโยบายด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (Economic and TechnicalCooperation - ECOTECH) รวมทั้งติดตามผลการดาเนินงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นรูปธรรมในระหว่างปี 2543-2544 ประเทศไทยเคยได้รับเลือกให้ดารงตาแหน่งประธานคณะกรรมการ SCE เป็นเวลา 2 ปี (2543-2544)
6. คณะทางาน (Working Groups) เป็นการประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาประเด็นเฉพาะด้านในขณะนี้
เอเปคมีคณะทางานที่รับผิดชอบด้านต่างๆดังนี้
- การส่งเสริมการค้า (Trade Promotion)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (Industrial Science and Technology)
- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development)
- พลังงาน (Energy)
- โทรคมนาคมและสารสนเทศ (Telecommunications and Information)
- ประมง (Fisheries)
- การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล (Marine Resources Conservation)
- การขนส่ง (Transportation)
- ความร่วมมือทางเทคนิคการเกษตร (Agricultural Technical Cooperation)
- การท่องเที่ยว (Tourism)
- วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งคณะทางานหรือกลุ่มทางานเฉพาะกิจในด้านอื่นๆอาทิคณะทางานเฉพาะกิจด้านการต่อต้านการก่อการร้าย (Counter-Terrorism Task Force) กลุ่มทางานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic Commerce Steering Group) และเครือข่ายเฉพาะกิจเพื่อประสานงานด้านสตรี (Gender Focal
Point Network) เป็นต้น
งบประมาณ
งบประมาณการดาเนินงานหลักของเอเปคในแต่ละปีมาจากเงินสนับสนุนของสมาชิกตามสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติสาหรับไทยมีพันธกรณีที่จะต้องจ่ายค่าบารุงประจาปีแก่เอเปคระหว่างปี2009-2010 เป็นเงินจานวน 75,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.4 ล้านบาทอัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ= 32 บาท) หรือร้อยละ 1.5 ของเงินค่าบารุงของเอเปคทั้งหมดแต่ก็ได้รับประโยชน์กลับคืนในรูปแบบของการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนโครงการต่างๆที่เสนอโดยไทยเป็นจานวนมากกว่าเงินค่าบารุงทุกปี
บทบาทของภาคเอกชน
นอกเหนือจากกลไกหลักของภาคราชการแล้วเอเปคยังมีกลไกที่สาคัญของภาคเอกชนคือสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council – ABAC) ซึ่งทาหน้าที่เปรียบเสมือนที่ปรึกษาเพื่อให้คาแนะนำแก่ผู้นาฯในการดาเนินการเพื่อเปิดเสรีและอานวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคประกอบด้วยสมาชิก 63 รายที่มาจากการแต่งตั้งโดยผู้นาของแต่ละเขตเศรษฐกิจจานวน 3 คน/เขตเศรษฐกิจในส่วนของไทยประกอบด้วยผู้แทนจากสภาหอการค้าไทยผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมไทยและผู้แทนจากสมาคมธนาคารไทยเป็นผู้แทนไทยในสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจทั้งนี้สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจจะจัดการประชุมปีละ 4 ครั้งเพื่อหารือในหมู่นักธุรกิจภาคเอกชนและจัดทาข้อเสนอแนะเพื่อเสนอต่อที่ประชุมผู้นำฯในช่วงปลายปีอนึ่งนอกจากการประชุมผู้นาเศรษฐกิจเอเปคในช่วงปลายปีแล้วภาคเอกชนยังได้จัดกิจกรรมสาคัญคือการประชุมสุดยอดผู้นาภาคเอกชนของเอเปค (APEC CEO Summit) ในช่วงเดียวกับการจัดประชุมผู้นาเอเปคเพื่อหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างนักธุรกิจชั้นนาของเอเปคจำนวนกว่า 500 คนจาก21 เขตเศรษฐกิจโดยจะมีการเชิญบุคคลผู้มีชื่อเสียงจากภาครัฐเอกชนรวมทั้งผู้นาเอเปคหลายท่านขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อต่างๆที่เป็นที่สนใจของที่ประชุมในปี 2546 ประเทศไทยได้จัดการประชุมสุดยอดผู้นาภาคเอกชนของเอเปคขึ้นเช่นกันเมื่อเดือนสิงหาคม 2553 ณกรุงเทพฯ
งานของเอเปคเน้นความเท่าเทียมกันของการดำเนินงาน 3 ด้าน ดังนี้
1) การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Liberalization)
2) การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Facilitation)
3) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (Economic and Technical Cooperation: ECOTECH)
เอเปคมีวัตถุประสงค์หลัก ๆ ในการพัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าในระดับพหุภาคีสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลกเพื่อลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกทางการค้า (สินค้าและบริการ) และการลงทุนระหว่างสมาชิก โดยให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของแกตต์/องค์การการค้าโลก
สำหรับนโยบายของเวทีเอเปคนั้น ไม่ใช่เวทีเจรจาการค้า แต่เป็นเวทีสำหรับปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่ประเทศสมาชิกสนใจ และ สนับสนุนแนวทางภูมิภาคนิยมแบบเปิด (open regionalism) ที่ไห้สิทธิประโยชน์กับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเอเปคเช่นเดียวกับที่ให้กับสมาชิก (non-discrimination) เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีของการเปิดเสรีและเพื่อกระตุ้นการเปิดเสรีของประเทศนอกกลุ่มด้วย นอกจากนี้การดำเนินการใดๆ ยึดหลักฉันทามติ ความสมัครใจ ความเท่าเทียมกัน และการมีผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
ประวัติการก่อตั้ง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือเรียกย่อๆว่า เอเปคกำเนิดจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 12 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย แคนาด ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา บรูไนอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และไทย ณ กรุงแคนเบอร์ราประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2532 และในการประชุมเมื่อเดือน พ.ศ.2534 ได้รับประเทศจีน ฮ่องกง และไต้หวันเข้าเป็นสมาชิก ต่อมาได้รับประเทศเม็กซิโกปาปัวนิวกีนี ชิลี เปรู สหพันธรัฐรัสเซีย และเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิก ปัจจุบันเอเปคมีสมาชิกรวม 12 ประเทศ
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง 1. เพื่อส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและพัฒนาภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 2. เพื่อส่งเสริมและรักษาผลประโยชน์ในเอเชีย-แปซิฟิก 3. เพื่อส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคึแบบเสรีภายใต้ข้อตกลงขององค์การการค้าโลก 4. เพื่อลดการกีดกันทางการค้า และร่วมมือกันถ่ายทอดเทคโนโลยีและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ผลการปฏิบัติงาน นับแต่ได้ก่อตั้งเอเปคมาภาวะการค้า เศรษฐกิจและการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะญี่ปุ่น ไต้หวันเกาหลีใต้ ฮ่องกงและสิงคโปร์ได้ระดมการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่มมากขึ้นอย่างมากส่วนไต้หวันและฮ่องกงก็เพิ่มปริมาณการลงทุนในเวียดนาม ลาว กัมพูชาและประเทศที่เป็นหมู่เกาะในทะเลจีนใต้มากขึ้น
หลักการของความร่วมมือภายใต้กรอบเอเปค
เอเปคเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจที่ประเทศสมาชิกสนใจการดำเนินงานยึดหลักฉันทามติความเท่าเทียมกัน และผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
กลไกการดำเนินงาน
การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders’ Meeting - AELM)
o เป็นการประชุมระดับผู้นำของประเทศจัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง โดยจะมีการประกาศนโยบายและเป้าหมายการทำงานของเอเปคในปีต่อไป
o ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2536 ณ Blake Island สหรัฐอเมริกา
การประชุมรัฐมนตรีเอเปค (APEC Ministers' Meeting - AMM)
o จัดปีละ 1 ครั้ง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมการประชุมนี้จะจัดก่อนหน้าการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคเพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานในรอบปีของเอเปค และจากผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials' Meetings - SOM) ซึ่งมติการประชุมจะถูกนำเสนอต่อผู้นำเศรษฐกิจเอเปคต่อไป