วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของพลังงานทดแทน

1. ด้านเศรษฐกิจ ทำให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวดีขึ้นเนื่องจากประชากรไทยในประเทศหันมาใช้ผลผลิตทางธรรมชาติที่ผลอตได้เองภายในประเทศทดแทนการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงต่างประเทศ
2. ด้านผลผลิตทางการเกษรตร ส่งผลให้ผลิตทางการเกษตรมีมูลค่าสูงขึ้น เนื่องจากสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายขึ้น นอกเหนือจากใช้เป็นพืชอาหาร นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเศษเหลือจากการผลิตพืชอาหาร อาทิ แกลบ และชานอ้อย สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนได้ทั้งสิ้น สามารถสร้างรายได้ทางการเกษตรภายในประเทศ
3. ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานทดแทนช่วยลดมลพิษที่เกิดจากใช้พลังงานเชื้อเพลิงที่ได้จากฟอสซิล อาทิ ลดมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง
4. ด้านสาธารณูปโภค สามารถใช้พลังงานทดแทนมาช่วยอำนวยความสะดวกในด้านสาะรณูปโภคได้ อาทิ การผลิตไฟฟ้าใช้ภายในชุมชนจากพลังงานแสงอาทิตย์


(หนังสือ วิชาการปริทัศน์)

การปรับตัวเพื่อแก้ไขวิกฤติโลกร้อน

ภาวะโลกร้อนที่ทั่วโลกกำลังประสบรวมถึงประเทศไทยด้วย ในปัจจุบันซึ่งกำลังเข้าขั้นวิกฤติ ทางออกเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์จะต้องมีการเร่งช่วยกันและร่วมมือกันในทุกระดับ และทุกคน เพื่อเตรียมตัวบรรเทาปัญหาโลกร้อนตามแนวทางดังนี้


1) ประชาชนทั่วไป ซึ่งสามารถเริ่มต้นได้อย่างง่าย เช่น ลดการใช้พลังงานในบ้าน เปลี่ยนรอดไฟเป็นแบบประหยัดพลังงาน เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และสร้างตัวดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น การปลูกต้นไม้ ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบจากไม้ เป็นต้น

2) เกษตรกร การลดการเผาป่าหญ้าเพื่อกำจัดวัชพืชและเปิดพื้นที่ทำการเกษตรมาเป็นการไถกลบหรือนำไปทำปุ๋ยหมัก ปลูกพืชที่หลากหลายเพื่อช่วยลดการปลูกพืชนอกฤดูที่ต้องใช้พลังงานมาก ลดการใช้สารเคมีเพื่อลดก๊าซไนตรัสออกไซด์ลง พัฒนนาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์โดยการนำมูลสัตว์มาผลิตก๊าชชีวภาพเพื่อเป็นพลังงานหมุนเวียน


3) สื่อมวลชน นักการสื่อสาร รณรงค์เพื่อให้คววามรู้และสร้างความตะหนักกับสาธารณชนเกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกร้อน และทำให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่อยู่ในกระแสความสนใจ เป็นผู้นำระแสสังคมเรื่องชีวิตที่พอเพียง


4) รัฐบาล ซึ่งมีความจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ทางเลือกเพื่อมุ่งจัดการแก้ไขปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อม จัดลำดับพื้นที่เสี่ยงภัยพร้อมจัดทำระบบเตือนภัยสำหรับเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยง สนับสนุนให้มีการพัฒนาการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ สนับสนุนกลไกต่าง ๆ สำหรับพลังงานหมุนเวียน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน รัฐบาลควรหามาตราการที่ชัดเจนในการสนุบสนุนอุตสาหกรรมหมุนเวียนซึ่งเป็นพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เพื่อให้สามารถแข่งขันกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล สนับสนุนโครงสร้างทางกายภาพ เพื่อให้ประชาชนตระหนักและต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พิจารณาใช้กฎหมาย การเก็บภาษีเป็นเครื่องมือในการควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจก ปฏเสธรูปภาษีสิ่งแวดล้อม กำหนดทิศทางประเทศให้มุ่งสู่แนวทางของการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงที่สามารถยืนหยัดอยู่รอดอย่างเข้มแข่งในสังคมโลก


(หนังสือ"โลกร้อนสุดขั้ว วิกฤติอนาคตของประเทศไทย" )













































กลอน


คนอยู่ได้เพราะสิ่งแวดล้อมดี

ร้อนชีวีเพราะสิ่งแวดล้อมหาย

สิ่งแวดล้อมดี คนอยู่อย่างสบาย

สิ่งแวดล้อมตาย คนจะสู้อยู่ได้ฤา


โลกของเราเริ่มร้อนมากขึ้นแล้ว

เชิญน้องแก้ว ร่วมด้วยช่วยกันถือ

ปลูกต้นไม้คนละต้นคนละมือ

นี่ก็คือ ลดโลกร้อนให้โลกเรา

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

ภาวะโลกร้อน กรณีประเทศไทย

ผลกระทบของสภวะโลกร้อนทำให้ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ดังนี้
1) ฤดูที่แปรปวน และแปรปวนอย่างเห็นได้ชัดเจน เริ่มต้นที่ฤดูฝนของบ้านเราซึ่งปกติจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน ในอดีดฝนจะค่อย ๆ ตกไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พาความชื้นจากแถบทะเลอันดามันขึ้นมา ทำให้มีฝนตกมากผนวกกับบางช่วงทางทะเลจีนใต้เกิดพายุโซนร้อนพัดผ่านประเทศเวียดนาม ลาว เข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะอ่อนกำลังกลายเป็นพายุดีเปรสชั่น โดยเฉพาะในช่วงเดิอน สิงหาคมถึงเดือนกันยายน จากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และพายุโซนร้อนทำให้ประเทศไทยมีฝนตกตลอดฤดูฝน โดยจะตกแบบค่อย ๆ ตกเฉลี่ยกันไป จึงท่ำให้ฤดูฝนบ้านเราเย็นสบาย แต่ผลของสภาวะโลกร้อนทำให้รูปแบบการตกของฝนเปลี่ยนแปลงไปมาก พบว่าฝนตกค่อนข้างจะหนักขึ้นและตกครั้งละมาก ๆ เมื่อฝนตกช่วงหลัง ๆ อากาศจะร้อนอบอ้าวมาก รูปแบบนี้จะพบเห็นชัดเจนได้มากขึ้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ลักษณะฝนที่แปรปวนไปทำให้ประเทศไทยช่วง 10 ปีหลังมีภับพิบัติเกิดขึ้นมากมาย ทั้งแผ่นดินถล่ม น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ภัยแล้ง ฤดูฝนในอนาคตจะเป็นอย่างที่ว่าคือ ฝนตกจะตกหนักและแต่ครั้งก็จะมากจนเกิดปัญหา แล้วทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ทำให้หน้าฝนจะร้อนมาก เป็นลักษณะที่ร้อนอบอ้าว และจะร้อนมากเป็นพิเศษ เช่นนี้คือฤดูฝนในอนาตค ส่วนฤดูร้อนก็จะร้อนมากยิ่งขึ้น และสิ่งที่น่ากลัว คือพายุฤดูร้อน จะมีฝนตกและลมกรรโชกแรง บางครั้งก็มีลูกเห็บตก นอกจากนี้ยังมีฝนฟ้าคะนองที่รุนแรงมีฟ้าผ่ามากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ฤดูร้อนในอนาตคอาจจะไม่ร้อนมากนักและอาจจะร้อนน้อยกว่าในฤดูฝนเสียอีก กรณีตัวอย่างพายุโซนร้อนต่อประเทศไทย ซึ่งมีผลกระทบต่อพื้นที่กว้างนับร้อยกิโลเมตร โดยเฉพาะอาณาบริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนที่ผ่านมักจะได้รับผลกระทบมากทีสุด ความเสียหายขึ้นอยู่กับความรุนแรงของพายุ บางครั้งก่อให้เกิดความเสียหายขั้นรุนแรง ทำให้ประชาชนเสียชีวิต เช่น การเกิดพายุโซนร้อนแฮเรียต ที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช และพายุใต้ฝุ่นเกย์ จังหวัดชุมพร

2) การกัดเซาะชายฝั่งทะเล ล้วนแต่ส่งผลกระทบกับความสมดุลของธรรมชาติ และระบบนิเวศวิทยาทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจาก
- ธรรมชาติของคลื่นลมในทะเล
- การลดลงของพื้นที่ป่าชายเลน
- การพัฒนาต้นน้ำทำให้ตะกอนสู่ชายฝั่งลดลง
- การทรุดตัวของแผ่นดินต่อการกัดเซาะชายฝั่งทะเล
- การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในอนาคต
- การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งและก่อสร้างโครงสร้างต่าง ๆตามแนวชายฝั่งทะเล
ประเทศไทยแนวชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 2,667 กม. มีพื้นที่ตามแนวชายฝั่งทะเลเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนและใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหมด 23 จังหวัด ชายฝั่งทะเล มี 136 อำเภอ ที่อยู่ตามแนวชายฝั่งทะเล หรือมี 807 อำเภอ ติดชายฝั่งทะเล ลักษณะชายฝั่งทะเลมีความหลากหลายของชนิดพันธ์พืชสัตว์ และสิ่งแวดล้อม ทั้งในน้ำกร่อยและในน้ำทะเลจำนวนมาก ปัจจุบันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยซึ่งมีความยาวชายฝั่งทั้งสิ้น 1,625.5 กม. เริ่มตั้งแต่ทะเล จ.ตราด จนถึงบริเวณชายแดนภาคใต้ของ จ.นราธิวาส พื้นที่กัดเซาะรุนแรงมากกว่า 5 เมตร ต่อปีจนถึง 20 เมตรต่อปี เป็นความยาวประมาณ 485 กม. คิดเป็นร้อยละ 18 ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั้งประเทศแยกเป็น ชายฝั่งด้านตะวันออก มัการกัดเซาะขั้นปานกลางถึงรุนแรงยาวทั้งสิ้น 64 กม. คิดเป็นร้อยละ 14.7 ของพื้นที่ส่วนนี้ ชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน พื้นที่ส่วนนี้ได้แก่ ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะรุนแรงที่สุดของประเทศชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกส่วนบน ได้แก่ เพรชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎ์ธานี พื้นที่ที่มีปัญหาเป็นระยะยาวทั้งสิ้น 119.8 กม. ชายฝั่งด้านตะวันตก ส่วนล่าง ได้แก่ นครศรีธรรมราช สงลขา ปัตตานี และนราธิวาส

3)ปัญหาน้ำท่วม สาเหตุเกิดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมกลายเป็นการเมือง ขนาดใหญ่และประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการขยายตัวของพื้นที่ชุมชนเมืองและเกษตรกรรม มีการใช้พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมมากขึ้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คนยุคหลังที่นิยมถมดินเพื่อสร้างบ้านที่อยู่อาศัย และยังมีปัจจัยเสริมที่เป็นตัวเร่งให้เกิดน้ำท่วมมากขึ้น เช่น การทรุดของแผ่นดิน ระบบระบายน้ำ การขยายพื้นที่ชุมชนเมืองและเกษตรกรรม ทำให้สูญเสียพื้นที่ลุ่มต่ำ หรือแก้มลิง อาจทำให้เกิดความเสียหาย กรณีน้ำท่วมที่เป็นปัญหาในปัจจุบันที่ถือได้ว่าเป็ฯปัญหาซ้ำซาก กรณีน้ำท่วมกรุงเทพมหานครและพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาถึงแม้ว่าจะมีการสร้างเขื่อนและทำนบกั้นน้ำแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาทั้งระบบได้ และยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อมีสภาวะผิดปกติ เช่น พายุโซนร้อน ฉะนั้นการแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาต้องเป็นแบบบูรณาการ ต้องพิจารณาจากหลาย ๆ มิติ เช่น มิติที่เป็นมาตราการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งใช้สิ่งก่อสร้างและไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง มิติที่เป็นมาตราการป้องกันพื้นที่เป้าหมายมิติเฝ้าติดตามและบริหารจัดการน้ำท่วมทั้งระบบ โดยแนวทางการบริหารจัดการน้ำท่วมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้แก่ การวางแผนพัฒนากรุงเทพมหานครและเมืองบริวารในอนาคต และแผนการป้องกันน้ำท่วมโดยการใช้สิ่งก่อสร้างในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

4)ปัญหาผลผลิตทางการเกษตร การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เป็นเหตุทำให้ฤดูกาลแปรปวนฝนตกไม่ตกตามฤดูกาล วงจรของฤดูกาลจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ไม่มีทิศทาง พยากรณ์ลำบากมาก ซึ่งผลเสียเกิดแก่เกษตรกรที่ไม่สามารถจับทิศทางของฤดุกาลใหม่ได้
ผลกระทบที่ตามมาคือ การเพาะปลูกทางการเกษตรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เกษตรกรในปัจจุบันจะคุ้นเคยกับเทคโนโลยีการเพาะปลูก จากการถ่ายทอดของเกษตรกรรุ่นก่อน เช่น การไถ่หว่านช่วงเดือนไหน เก็บเกี่ยวช่วงเดือนไหน แต่หากฤดูกาลมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยเฉพาะลักษณะฝนตกหนักแปรปวนไป จะมีฝนทิ้งช้วงนาน ฝนตกแต่ละครั้งมีปริมาณมากผิดปกติ การเพาะปลูกอาจไม่ได้ผลเต็มที่ หากพืชกำลังรอเก็บเกี่ยวอยู่แต่มีฝนตก ก็อาจทำให้ผลผลิตการเกษตรเสียหายได้
5)ปัญหาด้านการท่องเที่ยว จะทำให้พฤติกรรมนักท่องที่ยวเปลี่ยนไปซึ่งสภาวะโลกร้อนขึ้นอีก 1-3 องศาเซลเซียส จะทำให้ประเทศแถบหนาวมีความอบอุ่นมากขึ้น ส่วนประเทศที่ร้อนจะร้อนมากขึ้นอาจทำให้นักท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องหนี้หนาวเข้ามาเที่ยวในประเทศแถบร้อน และหากโลกร้อนอาจจะทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความกลัว เช่น กลัวเรื่องโรคระบาด โรคติดต่อ ซึ่งอาจอุบัติขึ้น เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้นจะมีโอกาสสูงที่จะเป็นแหล่งสะสมโดรคที่เหมาะสม ประเด็นนี้คงต้องมาวิเคราะห์ว่าพฤติกรรมนักท่องเที่ยวจะเปลี่ยนไปหรือเปล่า นอกนั้นยังส่งผลให้นักท่องเที่ยวเสื่อมโทรม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ความรุนแรงของคลื่นตามแนวชายฝั่ง เป็นตัวที่ส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวขาดสมดุลไปมาก
ดังนั้นเมื่อฤดูกาลมีความแปรปวนมากขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของผู้คนในประเทศ ผลคือ มีความเสี่ยงในหลาย ๆ ด้านเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น 1)ภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น สึนามิ พายุ น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม ไฟป่า 2)เสถียรภาพด้านอาหาร 3)ความหลากหลายทางชีวภาพที่จะแปรปวนมากขึ้น 4)ทรัพยากรน้ำที่มีความผันผวน 5)สุขภาพของมนุษย์ที่จะต้องมีการปรับสวัสดิการด้านสุขภาพของมนุษย์ใหม่ 6ความเสื่อมโทรมของพื้นที่ จะเห็นได้ชัดเจนในส่วนของผลกระทบด้านการท่องเที่ยว เช่น แหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรมลง และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่แปรเปลี่ยนไป 7)การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ที่ผันผวนและรุนแรงมากขึ้น









ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

1. ผลกระทบด้านนิเวศวิทยา

ขั่วโลกได้รับผลกระทบมากสุดและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาน้ำแข็ง
ก้อนน้ำแข็งจะละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเลทางขั้วโลกเพิ่มขึ้น และไหลลงสู่ทั่วโลก ทำให้เกิดน้ำท่วมได้ทุกทวีป นอกจากนี้จะพลอยทำให้สัตว์ทางทะเลเสียชีวิตเพราะระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง
ทวีปยุโรป ยุโรปใต้ ภูมิประเทศจะกลายเป็นพื่นที่ลาดเอียงเกิดความแห้งแล้ง ในหลายพื้นที่ปัญหา
อุทกภัยจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากธารน้ำแข็งบนบริเวณยอดเขาสูงที่ปกคลุมด้วยหิมะจะมีการละลายจนหมด
ทวีปอเมริกาเหนือ อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ได้รับผลประโยนช์เนื่องจากอากาศที่อุ่นขึ้นพร้อมๆกับทุ่งหญ้าของแคนาดาและทุ่งราบใหญ่ของสหรัฐอเมริกาจะล้มตาย เพราะความแปรปวนของอากาศส่งผลต่อสัตว์
ทวีปเอเชีย อุณหภูมิจะสูงขึ้นเกิดฤดูกาลที่แห้งแล้ง มีน้ำท่วม ผลผลิตทางอาหารลดลง ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นสภาวะอากาศแปรปวนอาจทำให้เกิดพายุต่างๆมากมายเข้าไปทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชน ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่แปรปวนนั้นส่งผลให้เกิดพายุโซนร้อนและใต้ฝุ่นบ่อยครั้งขึ้นด่อให้เกิดความเสียหายขึ้นอย่างรุนแรง เช่น
- เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.2 ริคเตอร์ที่บริเวณเกาะสุมาตรา และมีอาฟเตอร์ช็อกเกิดต่อเนื่องหลายครั้งบริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ ส่งผลให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ทำให้คร่าชีวิตมนุษย์นับแสนคนในชั่วพริบตา
เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2547
- มีแผ่นดินไหวอีกครั้งบริเวณชายฝั่งทะเลเกาะสุมาตรา อินโดนิเซีย ขนาด 8.7 ริคเตอร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 1,000 คน และประชาชนต้องไร้ที่อยู่อาศัย เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2548
2. ผลกระทบด้านสุขภาพ

ภาวะโลกร้อนไม่เพียงจะทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป แต่สิ่งซ้อนเร้นที่แอบแฝงมาพร้อมปรากฏการณ์นี้ด้วย คือเมื่อเกิดภาวะโลกร้อนขึ้นจะสร้างสภาวะที่พอเหมาะพอควรให้เชื้อโรคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
เดวิท พิเมนเทล นักนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนลในอเมริกา ระบุว่าโลกร้อนขึ้นจะก่อให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืช โรคที่ฟักตัวได้ดีในสภาพร้อนชื้นของโลกจะสามารถเพิ้มขึ้นมากในอีก 20ปีข้างหน้าทั้งจะมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในโรคมาลาเรีย ไข้ล่า อหิวาตกโรค และอาหารเป็นพิษ

3. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

รัฐที่เป็ฯเกาะเล็ก ๆ ของทวีปอเมริกาจะได้รับผลจากระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น และกัดกร่อนชายฝั่ง จะสร้างความเสียหายแก่ระบบนิเวศ แนวปะการังจะถูกทำลาย ปลาทะเลประสบปัญหา เนื่องจากระบบนิเวศที่เปลี่ยนไปธุรกิจท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญจะสูญเสียรายได้มหาศาล รายงาน "Global Deserts Outlook"
ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติชี้ว่า ภายใน 50 ปีข้างหน้า ระบบนิเวศวิทยาทะเลทรายเปลี่ยนแปลงไปทางด้านชีววิทยา เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ปัจจุบันพืชและสัตว์ทะเลทราย คือแหล่งทรัพยากรมีคุณค่าสำหรับผลิตยาและธัญญาหารใหม่ ๆ ที่ทำให้ไม้ต้องสิ้นเปลืองน้ำและยังมีช่องทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เช่น การทำฟาร์มกุ้งและบ่อปลาในทะเลทรายรัฐอาริโซนาและทะเลทรายเนเจฟในอิสราเอล ซึ่งทะเลทรายที่มีอยู่ 12 แห่งทั่วโลกกำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ไม่ใช่เรื่องการขยายตัว แต่เป็นความแห้งแล้ง เนื่องจากโลกร้อนธารน้ำแข็งซึ่งส่งน้ำมาหล่อเลี้ยงทะเลทรายในอเมริกาใต้กำลังจะละลาย น้ำใต้ดินเค็มขึ้น รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งหากไมมีการลงมือป้องกันอย่างทันท่วงที ระบบนิเวศวิทยาและสัตว์ป่าในทะเลทรายจะสูญหายไปภายใน 50 ปีข้างหน้าในอนาคตประชากร 500 ล้านคนที่อาศัยออยู่ในเขตทะเลทรายทั่วโลกจะอยู่ไม่ได้อีกต่อไป เพราะอุณหภูมิสูงขึ้นและน้ำถูกใช้จนหมดหรือเค็มจนดื่มไม่ได้
ในเอชียยังมีโอกาสร้อยละ 66-90 ที่อาจเกิดฝนกระหน่ำและมรสุมอย่างรุนแรง ร่วมถึงเกิดความแห้งแล้งในฤดูร้อนที่ยาวนาน ทั้งนี้ ประเทศในแถบเอเชียที่ประสบภัยล้วนแต่มีควมเสียหายทางเศรษฐกิจมากมาย
( อ้างอิง หนังสือ "โลกร้อนสุดขั้ว วิกฤติอนาคตประเทศไทย" )

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

      ปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากภาวะโลกร้อนขึ้น มีมูลเหตุมาจากการปล่อยก๊าซพิษต่างๆ ทำให้แสง
อาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้น

ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ 6 ชนิด ที่จะต้องลดการปล่อยได้แก่    ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)  ก๊าซมีเทน (CH4)    ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O)  ก๊าซไฮโดรฟลูโรคาร์บอน (HFCS)  ก๊าซเปอร์ฟลูโรคาร์บอน (CFCS)  และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ (SF6)

ทำไมโลกถึงร้อน ( Why is world warming? )

การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรื่อนกระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า "Green House Effect" ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชื่อเพลิงต่างๆ การขนส่ง และการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนั้นมนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน ( CFC) เข้าไปอีกด้วย พร้อมๆกับการที่เราตัดและทำลายป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆ ที่เราได้กระทำต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของภาวะโลกร้อน และเป็นปรากฎการในระดับที่พิเศษ คือโลกร้อนสุดขั่ว ฉะนั้นโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้นเป็นผลจากการใช้พลังงานที่มากมายแล้วปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นจำนวนมหาศาลที่ห่อหุ้มโลกในปัจจุบัน