วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

APEC

APEC
เอเปค(APEC)
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเอเปค
ภูมิหลัง“เอเปค (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC)” เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเขตเศรษฐกิจ1 (economy) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) โดยนายBobHawkeนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียในขณะนั้นที่มองว่าออสเตรเลียจาเป็นต้องเกาะเกี่ยวกับเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกและทวีปอเมริกาเหนือท่ามกลางแนวโน้มของการขยายกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในยุโรปและอเมริกาเหนือและความไม่แน่นอนของการเจรจาการค้าระหว่างประเทศไทยอยู่ในสมาชิกแรกเริ่มของเอเปคตั้งแต่ต้นซึ่งมี 12 เขตเศรษฐกิจคือออสเตรเลียบรูไนแคนาดาอินโดนีเซียญี่ปุ่นเกาหลีใต้มาเลเซียนิวซีแลนด์ฟิลิปปินส์สิงคโปร์ไทยและสหรัฐอเมริกาต่อมาเอเปคได้รับสมาชิกเพิ่มในปีต่างๆรวมเป็น 21 เขตเศรษฐกิจดังนี้สาธารณรัฐประชาชนจีน (2534) เขตบริหารพิเศษฮ่องกง (2534) จีนไทเป (2534) เม็กซิโก (2536) ปาปัวนิวกินี (2536) ชิลี (2537) เปรู (2540) เวียดนาม(2540) และรัสเซีย (2540)เอเปคเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีพลังและพลวัตรของการเจริญเติบโตสูงสุดของโลกโดยมีGDP per capita เมื่อปีพ.ศ. 2532 เท่ากับ 5314 (Non-APEC เท่ากับ 4149) และปีพ.ศ. 2551 เท่ากับ 14169(Non-APEC เท่ากับ 7822) สมาชิกมีประชากรรวมกันประมาณ 2,639 ล้านคนคิดเป็นสัดส่วนประมาณ45% ของประชากรโลกและมีการค้ารวมกันมากกว่า 24,994 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 46% ของการค้าโลกและ 57% ของ GDP โลกผลผลิตการค้าและการลงทุนของเอเปคมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของโลกภูมิภาคเอเซียแปซิฟิคมีการค้ากันเองภายในกลุ่มร้อยละ 70 และการค้านอกกลุ่มร้อยละ 30 การที่เอเปคมีสัดส่วนการค้าภายในกลุ่มสูงทาให้เอเปคเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีส่วนสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มของภูมิภาคนี้ (ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ 9 กุมภาพันธ์ 2553)เอเปคสนับสนุนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแบบเปิดกว้าง (open regionalism) โดยสิทธิประโยชน์ที่สมาชิกเอเปคให้แก่กันจะมีผลให้ผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกเอเปคได้รับประโยชน์ด้วย (ปกติกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่นจะให้สิทธิประโยชน์แก่กันและกันเฉพาะในกลุ่มและใช้หลักการเจรจาต่างตอบแทนเพื่อแลกเปลี่ยนสิทธิประโยชน์กับประเทศที่มิได้เป็นสมาชิก) เอเปคมีเป้าหมายสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคี (multilateral trading system) โดยการดาเนินการของเอเปคจะเป็นการหารืออย่างตรงไปตรงมามิใช่การเจรจาแต่ยึดหลักการฉันทามติ (consensus) และความสมัครใจ (voluntarism) ของทุกฝ่ายความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของสมาชิกโดยคานึงถึงความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจและสังคมและระดับการพัฒนาของสมาชิก
1 ในบริบทของเอเปคจะใช้คาว่า “เขตเศรษฐกิจ (economy)” แทนคาว่า “ประเทศ” เนื่องจากสมาชิกของเอเปคสองรายคือเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและจีนไทเปมิได้มีสถานะเป็นประเทศแต่ได้รับการยอมรับให้เข้าเป็นสมาชิกในฐานะที่เป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความสาคัญในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเป้าหมายของเอเปคคือเป้าหมายโบกอร์ที่สมาชิกเอเปคเห็นชอบในระหว่างการประชุมผู้นาฯที่เมืองโบกอร์ประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี 2537 ที่จะให้มีการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิคโดยเริ่มจากสมาชิกที่พัฒนาแล้วภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) และสมาชิกกาลังพัฒนาที่เหลือภายในปี 2563(ค.ศ. 2020)การค้าระหว่างไทยกับเอเปค(ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ 9 กุมภาพันธ์ 2553)เอเปคมีบทบาทสาคัญด้านการค้าและการลงทุนของไทยโดยในปี 2552 การค้าระหว่างไทยกับสมาชิกเอเปคมีมูลค่า 193,432.6 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67.6 ของมูลค่าการค้ารวมของไทยเอเปคเป็นตลาดส่งออกสาคัญที่สุดของไทยในปี 2552 ไทยส่งออกไปเอเปคมูลค่า 102,686 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นร้อยละ 67.3 ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทยสินค้าออกสาคัญของไทยไปเอเปคที่ลดลงได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้ารถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบยางพาราเม็ดพลาสติกเหล็กเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์น้ามันสาเร็จรูปเป็นต้นส่วนสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นได้แก่อัญมณีและเครื่องประดับผลิตภัณฑ์ยางเคมีภัณฑ์หนังสือและสิ่งพิมพ์ผลิตภัณฑ์มันสาปะหลังกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งเครื่องซักผ้าเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบเอเปคเป็นแหล่งนาเข้าสาคัญที่สุดของไทยโดยในปี 2552 ไทยนาเข้าจากเอเปคมูลค่า 90,746.5 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นร้อยละ 67.8 ของการนาเข้ารวมของไทยสินค้าที่ไทยนาเข้าเพิ่มขึ้นจากเอเปคได้แก่เครื่องบินเครื่องร่อนอุปกรณ์ผักผลไม้และของปรุงแต่ที่ทาจากผักผลไม้แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ยุทธปัจจัยเลนซ์และส่วนประกอบข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้งอาหารปรุงแต่งสาหรับเลี้ยงทารกส่วนสินค้าที่นาเข้าลดลงจากเอเปคได้แก่เครื่องจักรกลและส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้าเหล็กเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบเคมีภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบน้ามันดิบเป็นต้น
โครงสร้างองค์กรของเอเปค(ที่มา: กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 8 มีนาคม 2550)โดยที่เอเปคก่อตั้งขึ้นมาด้วยความต้องการที่จะเป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจแบบหลวมๆจึงไม่มีการจัดตั้งโครงสร้างองค์กรกลางในลักษณะเช่นเดียวกับองค์การความร่วมมืออื่นๆเช่นสหภาพยุโรปหากแต่ประกอบด้วยโครงสร้างองค์กรที่สาคัญๆ 2 ส่วนคือส่วนที่เป็นกลไกการดาเนินงานในแต่ละปีซึ่งเป็นความรับผิดชอบของสมาชิกที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานของการประชุมปีนั้นๆและส่วนที่เป็นองค์กรกลางที่เรียกว่าสานักเลขาธิการเอเปค (APEC Secretariat) ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี 2535 เพื่อทาหน้าที่คล้ายกับเป็นฝ่ายเลขานุการให้การสนับสนุนสมาชิกที่เป็นประธานการประชุมเอเปคในแต่ละปีโดยที่ประธานการประชุมเอเปคจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทุกปีทาให้ไม่สามารถติดตามความคืบหน้าการดาเนินการต่างๆได้อย่างต่อเนื่องสานักเลขาธิการเอเปคจึงเปรียบเสมือนหน่วยความจาภาคสถาบัน (institutional memory) เพื่อทางหน้าที่ติดตามประสานงานให้มีความต่อเนื่องของกิจกรรมความร่วมมือต่างๆประเทศไทยดารงตาแหน่งรองผู้อานวยการบริหารสานักเลขาธิการเอเปคในปี 2545 และผู้อานวยการบริหารฯในปี 2546สาหรับโครงสร้างองค์กรส่วนที่ 1 นั้นประกอบด้วยกลไกการดาเนินการหลัก 6 ระดับได้แก่
1. การประชุมผู้นาเศรษฐกิจ (Economic Leaders’ Meeting)
เป็นการประชุมระดับสูงสุดของเอเปคโดยมีผู้นาประเทศ/รัฐบาลและเขตเศรษฐกิจของแต่ละสมาชิกเข้าร่วมประชุมจัดประชุมปีละ 1 ครั้งครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาเมื่อพ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) สาหรับประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมฯเจ้าภาพจะสลับกันไประหว่างสมาชิกจากกลุ่มอาเซียนและสมาชิกนอกกลุ่มอาเซียนในอัตรา 1 ต่อ 2 สาหรับสมาชิกเอเปคที่จะเป็นเจ้าภาพต่อจากประเทศไทยในปี 2546 ได้แก่ชิลี (2547) สาธารณรัฐเกาหลี (2548) เวียดนาม (2549) ออสเตรเลีย(2550) เปรู (2551) สิงคโปร์ (2552) และญี่ปุ่น (2553)
2. การประชุมรัฐมนตรี (Ministerial Meeting)
เป็นการประชุมร่วมของรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านการค้าประจาปีเจ้าภาพจัดการประชุมคือสมาชิกที่เป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในปีนั้นประชุมปีละ 1 ครั้งครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2532 (ค.ศ.1989) สาหรับประเทศไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะเป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมและในส่วนของการประชุมรัฐมนตรีรายสาขามีทั้งหมด 16 สาขา (ค.ศ. 1992-2009)โดยในปีนี้ญี่ปุ่นซึ่งเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมเอเปคได้เสนอให้เพิ่มเติมการประชุมรัฐมนตรีภาคเกษตรเอเปค(เปลี่ยนเป็นรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปคภายหลัง) ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 16-17 ตุลาคม 2553 ณเมืองนิอิกาตะประเทศญี่ปุ่น
3. การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials’ Meetings - SOMs)
โดยธรรมเนียมปฏิบัติจะมีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอย่างเป็นทางการ 3 ครั้งและไม่เป็นทางการ 2 ครั้ง(ในช่วงต้นของปีที่เข้ารับหน้าที่เป็นประธานและช่วงปลายปีก่อนการประชุมรัฐมนตรีเอเปค) สาหรับประเทศไทยมีปลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม SOM ทำหน้าที่พิจารณาการดาเนินการของเอเปคในทุกๆด้านรวมทั้งติดตามความคืบหน้าของกิจกรรมภายใต้คณะทางานและกลุ่มทางานต่างๆของเอเปคการบริหารงานของสานักเลขาธิการเอเปค (APEC Secretariat) และงบประมาณสาหรับกิจกรรมต่างๆของเอเปคเพื่อเสนอให้ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไปสาหรับปี 2546 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้ทาหน้าที่ประธานการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM Chair) โดยมีอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย (SOM Leader)

4. การประชุมรัฐมนตรีเอเปคในสาขาต่างๆ (Sectoral Ministerial Meetings)
เอเปคจัดประชุมรัฐมนตรีรายสาขาตามวาระที่กาหนดที่ผ่านมามีการประชุมรัฐมนตรีรายสาขาได้แก่ด้านการค้าด้านการศึกษาด้านพลังงานด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการคลังด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมสารสนเทศและด้านการขนส่งสาหรับปี 2546 มีการประชุมรัฐมนตรีด้านต่างๆในประเทศไทยดังนี้รัฐมนตรีด้านการค้า (2-3 มิถุนายน) รัฐมนตรีสาธารณสุขสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาเรื่องโรคซาร์ส(27-28 มิถุนายน) รัฐมนตรีด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (7-8 สิงหาคม) รัฐมนตรีคลัง (4-5กันยายน) และรัฐมนตรีเอเปคซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีพาณิชย์ (17-18 ตุลาคม)
5. คณะกรรมการ Committees) เอเปคมี 4 คณะกรรมการหลักได้แก่
5.1 คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุน (Committee on Trade and Investment - CTI) เป็นเวที
ปรึกษาหารือและติดตามการดาเนินการด้านการเปิดเสรีและการอานวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน
5.2 คณะกรรมการเศรษฐกิจ (Economic Committee - EC) ทาหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์แนวโน้มและประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสมาชิกเอเปคเพื่อสนับสนุนการดาเนินการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการของเอเปครวมทั้งหารือแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของสมาชิกเอเปค
5.3 คณะกรรมการว่าด้วยงบประมาณและการบริหาร (Budget and Management Committee - BMC) มีบทบาทในการให้คาแนะนาต่อเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคในด้านงบประมาณการบริหารและการจัดการประเทศไทยดารงตาแหน่งรองประธาน BMC ในปี 2546 และประธานในปี 2547
5.4 คณะกรรมการอานวยการของเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ(SOM Steering Committee on Economic and Technical Cooperation - SCE) มีบทบาทในการประสานและกาหนดกรอบนโยบายด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (Economic and TechnicalCooperation - ECOTECH) รวมทั้งติดตามผลการดาเนินงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นรูปธรรมในระหว่างปี 2543-2544 ประเทศไทยเคยได้รับเลือกให้ดารงตาแหน่งประธานคณะกรรมการ SCE เป็นเวลา 2 ปี (2543-2544)
6. คณะทางาน (Working Groups) เป็นการประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาประเด็นเฉพาะด้านในขณะนี้
เอเปคมีคณะทางานที่รับผิดชอบด้านต่างๆดังนี้
- การส่งเสริมการค้า (Trade Promotion)
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (Industrial Science and Technology)
- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development)
- พลังงาน (Energy)
- โทรคมนาคมและสารสนเทศ (Telecommunications and Information)
- ประมง (Fisheries)
- การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล (Marine Resources Conservation)
- การขนส่ง (Transportation)
- ความร่วมมือทางเทคนิคการเกษตร (Agricultural Technical Cooperation)
- การท่องเที่ยว (Tourism)
- วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งคณะทางานหรือกลุ่มทางานเฉพาะกิจในด้านอื่นๆอาทิคณะทางานเฉพาะกิจด้านการต่อต้านการก่อการร้าย (Counter-Terrorism Task Force) กลุ่มทางานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic Commerce Steering Group) และเครือข่ายเฉพาะกิจเพื่อประสานงานด้านสตรี (Gender Focal
Point Network) เป็นต้น
งบประมาณ
งบประมาณการดาเนินงานหลักของเอเปคในแต่ละปีมาจากเงินสนับสนุนของสมาชิกตามสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติสาหรับไทยมีพันธกรณีที่จะต้องจ่ายค่าบารุงประจาปีแก่เอเปคระหว่างปี2009-2010 เป็นเงินจานวน 75,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.4 ล้านบาทอัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ= 32 บาท) หรือร้อยละ 1.5 ของเงินค่าบารุงของเอเปคทั้งหมดแต่ก็ได้รับประโยชน์กลับคืนในรูปแบบของการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนโครงการต่างๆที่เสนอโดยไทยเป็นจานวนมากกว่าเงินค่าบารุงทุกปี
บทบาทของภาคเอกชน
นอกเหนือจากกลไกหลักของภาคราชการแล้วเอเปคยังมีกลไกที่สาคัญของภาคเอกชนคือสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council – ABAC) ซึ่งทาหน้าที่เปรียบเสมือนที่ปรึกษาเพื่อให้คาแนะนำแก่ผู้นาฯในการดาเนินการเพื่อเปิดเสรีและอานวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคประกอบด้วยสมาชิก 63 รายที่มาจากการแต่งตั้งโดยผู้นาของแต่ละเขตเศรษฐกิจจานวน 3 คน/เขตเศรษฐกิจในส่วนของไทยประกอบด้วยผู้แทนจากสภาหอการค้าไทยผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมไทยและผู้แทนจากสมาคมธนาคารไทยเป็นผู้แทนไทยในสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจทั้งนี้สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจจะจัดการประชุมปีละ 4 ครั้งเพื่อหารือในหมู่นักธุรกิจภาคเอกชนและจัดทาข้อเสนอแนะเพื่อเสนอต่อที่ประชุมผู้นำฯในช่วงปลายปีอนึ่งนอกจากการประชุมผู้นาเศรษฐกิจเอเปคในช่วงปลายปีแล้วภาคเอกชนยังได้จัดกิจกรรมสาคัญคือการประชุมสุดยอดผู้นาภาคเอกชนของเอเปค (APEC CEO Summit) ในช่วงเดียวกับการจัดประชุมผู้นาเอเปคเพื่อหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างนักธุรกิจชั้นนาของเอเปคจำนวนกว่า 500 คนจาก21 เขตเศรษฐกิจโดยจะมีการเชิญบุคคลผู้มีชื่อเสียงจากภาครัฐเอกชนรวมทั้งผู้นาเอเปคหลายท่านขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อต่างๆที่เป็นที่สนใจของที่ประชุมในปี 2546 ประเทศไทยได้จัดการประชุมสุดยอดผู้นาภาคเอกชนของเอเปคขึ้นเช่นกันเมื่อเดือนสิงหาคม 2553 ณกรุงเทพฯ
งานของเอเปคเน้นความเท่าเทียมกันของการดำเนินงาน 3 ด้าน ดังนี้
1) การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Liberalization)
2) การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Facilitation)
3) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (Economic and Technical Cooperation: ECOTECH)
เอเปคมีวัตถุประสงค์หลัก ๆ ในการพัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าในระดับพหุภาคีสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลกเพื่อลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกทางการค้า (สินค้าและบริการ) และการลงทุนระหว่างสมาชิก โดยให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของแกตต์/องค์การการค้าโลก
สำหรับนโยบายของเวทีเอเปคนั้น ไม่ใช่เวทีเจรจาการค้า แต่เป็นเวทีสำหรับปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่ประเทศสมาชิกสนใจ และ สนับสนุนแนวทางภูมิภาคนิยมแบบเปิด (open regionalism) ที่ไห้สิทธิประโยชน์กับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเอเปคเช่นเดียวกับที่ให้กับสมาชิก (non-discrimination) เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีของการเปิดเสรีและเพื่อกระตุ้นการเปิดเสรีของประเทศนอกกลุ่มด้วย นอกจากนี้การดำเนินการใดๆ ยึดหลักฉันทามติ ความสมัครใจ ความเท่าเทียมกัน และการมีผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
ประวัติการก่อตั้ง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือเรียกย่อๆว่า เอเปคกำเนิดจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 12 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย แคนาด ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา บรูไนอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และไทย ณ กรุงแคนเบอร์ราประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2532 และในการประชุมเมื่อเดือน พ.ศ.2534 ได้รับประเทศจีน ฮ่องกง และไต้หวันเข้าเป็นสมาชิก ต่อมาได้รับประเทศเม็กซิโกปาปัวนิวกีนี ชิลี เปรู สหพันธรัฐรัสเซีย และเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิก ปัจจุบันเอเปคมีสมาชิกรวม 12 ประเทศ
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง 1. เพื่อส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและพัฒนาภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 2. เพื่อส่งเสริมและรักษาผลประโยชน์ในเอเชีย-แปซิฟิก 3. เพื่อส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคึแบบเสรีภายใต้ข้อตกลงขององค์การการค้าโลก 4. เพื่อลดการกีดกันทางการค้า และร่วมมือกันถ่ายทอดเทคโนโลยีและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ผลการปฏิบัติงาน นับแต่ได้ก่อตั้งเอเปคมาภาวะการค้า เศรษฐกิจและการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะญี่ปุ่น ไต้หวันเกาหลีใต้ ฮ่องกงและสิงคโปร์ได้ระดมการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่มมากขึ้นอย่างมากส่วนไต้หวันและฮ่องกงก็เพิ่มปริมาณการลงทุนในเวียดนาม ลาว กัมพูชาและประเทศที่เป็นหมู่เกาะในทะเลจีนใต้มากขึ้น
หลักการของความร่วมมือภายใต้กรอบเอเปค
เอเปคเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจที่ประเทศสมาชิกสนใจการดำเนินงานยึดหลักฉันทามติความเท่าเทียมกัน และผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
กลไกการดำเนินงาน
การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders’ Meeting - AELM)
o เป็นการประชุมระดับผู้นำของประเทศจัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง โดยจะมีการประกาศนโยบายและเป้าหมายการทำงานของเอเปคในปีต่อไป
o ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2536 ณ Blake Island สหรัฐอเมริกา
การประชุมรัฐมนตรีเอเปค (APEC Ministers' Meeting - AMM)
o จัดปีละ 1 ครั้ง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมการประชุมนี้จะจัดก่อนหน้าการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคเพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานในรอบปีของเอเปค และจากผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials' Meetings - SOM) ซึ่งมติการประชุมจะถูกนำเสนอต่อผู้นำเศรษฐกิจเอเปคต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น